วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ครูกับการจัดการเรียนการสอน


ครูกับการจัดการเรียนการสอน

ในสังคมโลกปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง มนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาพัฒนากระบวนการคิดได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำความรู้ที่พัฒนามาประดิษฐ์คิดค้น สร้างความเจริญให้แก่โลกเยี่ยงยุคปัจจุบัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มาตรา 24(5) กำหนดให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้การวิขัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญและการประยุกต์ใช้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เกิดจิตวิทยาศาสตร์และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  


กระบวนการจัดการเรียนการสอน
ครูจะเตรียมตัวเองอย่างไร ?
ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทาง ศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยาศาสตร์ กระบวนการวัดและประเมินผล พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการให้ชื่อว่าเทคนิคการเรียนรู้
 - จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกงล้อกงหัน มี 7 ขั้นตอนดังนี้
          1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
          2.ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
          3.ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
          4.ขั้นสร้างสรรค์องค์ความรู้
          5.ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
          6.ขั้นแยบยลผลสรุป
          7.ขั้นสุดท้ายนำไปใช้ มีการสอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัย และมีรายละเอียดการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกัน และต่างกลุ่มสาระ
- เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างของจริง ใบความรู้ ชุดฝึกทักษะ กระบวนการคิด การปฏิบัติและการแก้ปัญหา ใบงาน แถบบันทึกเสียง แผ่นโปร่งใส ฯลฯ
- เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินกลุ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินทักษะการทดลอง ฯลฯ

ครูจะเตรียมผู้เรียนอย่างไร ?
- ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 
- จุดประกายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เร้าความสนใจ การระดมความคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรม ฯลฯ

แล้วครูจะจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างไร ?
การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ กงล้อกงหันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญดังนี้
         1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
         2.ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
         3.ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
         4.ขั้นสร้างสรรค์ความรู้
         5.ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
         6.ขั้นแยบยลผลสรุป
         7.ขั้นสุดท้ายนำไปใช้

เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ ในการนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะนำโดยครูผู้สอน ครูและนักเรียน หรือนักเรียนเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียนลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้ โดยใช้แถบบันทึกเสียง ภาพ ข่าว หนังสือพิมพ์ เกม เพลง ดูวีดีทัศน์หรืออาจจะเป็นการทบทวนความรู้เดิม รูปภาพ คำถาม หรือกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
 เป็นขั้นที่ให้ความรู้ใหม่ ที่เชื่อมโยงกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องใช้นวัตกรรมให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ โดยการใช้ใยความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียน ศูนย์การเรียน วีดีทัศน์ ฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัยตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์ ทดสอบ ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
เป็นการฝึกระหว่างสอนในเรื่องที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนกระบวนการคิดการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุด เป็นการพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดแบบยั่งยืน
 เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้ศึกษามา โดยการเขียนเป็นข้อสรุปที่เข้าใจง่าย เช่น การเขียนแบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแบบมโนมิติ หรือเขียนสรุปใจความสั้นๆ
เป็นการประเมินระหว่างสอนตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ในเนื้อหานั้น ๆ อาจทำได้โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเล่าเรื่องนำเสนอในสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้ ในขั้นที่ 4 หรือบันทึกผลการทดลอง หรือใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมหรืออาจจะผลตามสภาพจริง (ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน และครูประเมิน)
เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจะสรุปโดยผู้เรียนหรือครูผู้สอนหรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป อาจจะใช้สื่อช่วยในการสรุป เช่น ใช้ในสรุปเนื้อหา ใช้วีดีทัศน์หรือรูปภาพประกอบการสรุป
 เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ในแหล่งชุมชน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ทำงานหรือเตรียมบทเรียนต่อไป หรือการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่ชัดเจน เช่น แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะวิทยาศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น