หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น
มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นพอสรุปได้ ดังนี้ ใจทิพย์
เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 107) กล่าวว่า
หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง
มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของ
ท้องถิ่นนั้น ๆ วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542, หน้า 124)
กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น คือ การนำหลักสูตร แกนกลางทั้งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนามาจากส่วนกลาง
มาปรับขยายหรือเพิ่ม
หรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่
และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อุดม เชยกีวงศ์ (2545,หน้า
6) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือครูหรือผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริงเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้
สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข สำลี ทองธิว
(2543, หน้า 18 อ้างถึงใน ณัฐกานต์ เรือนคำ, 2546, หน้า 13) ได้กล่าวไว้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึง ดังนี้
1. เนื้อหาสาระ โครงสร้าง การจัดเวลา การบริหารหลักสูตร ซึ่งมาจากความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นสาระ แนวคิด หลักการที่คนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น ๆ
1. เนื้อหาสาระ โครงสร้าง การจัดเวลา การบริหารหลักสูตร ซึ่งมาจากความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นสาระ แนวคิด หลักการที่คนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น ๆ
2.
เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างอย่างเท่าเทียมกันครูและผู้บริหาร
โรงเรียน
3.
เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน
หรือค้นหาความรู้ทัศนะในการเป็นคนในชุมชน
4. เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ความเป็นท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
เป็นการพัฒนาท้องถิ่นลักษณะเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น ๆ
จากความหมายที่ศึกษา
สรุปตามกรอบความคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของผู้วิจัยได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น
หมายถึง หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
โดยการขยายสาระที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสาระและมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้วในสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณสมบัติอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สงัด
อุทรานันท์ (2532, หน้า 311)
ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นว่า
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาหลักสูตรได้มากที่สุดด้วยเหตุผล
ดังต่อไปนี้
1. ตามหลักการของหลักสูตรนั้น
หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสนองความต้องการของสังคมชุมชนที่ใช้หลักสูตรนั้น
ๆ
โดยเหตุนี้หากหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้ในชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนนั้นได้มากที่สุด
2.
ในการพัฒนาหลักสูตรได้มีการยอมรับความสำคัญของผู้ใช้และให้ผู้ใช้หลักสูตรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ในทางปฏิบัติหากหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระดับชุมชนที่ไม่กว้างขวางมากนักก็ย่อมสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใช้หลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรได้
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 109-110)
กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บท ได้กำหนดจุดหมาย
เนื้อหาสาระ และกิจกรรมอย่างกว้างๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน
ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่ง เนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่วไป
ไม่สาสามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพของท้องถิ่นได้
จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ
การเมือง และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต
เพื่อให้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาท้องถิ่น
ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข
3.
การเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปยังสิ่งที่ไกลตัว
เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถดูดซับได้เร็วกว่า
จึงควรมีหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ชีวิตจริงตามสภาพของท้องถิ่น
ช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกผันต่อท้องถิ่น
4. ทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยหลักสูตรท้องถิ่นสามารถเอาทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหลายมาใช้ในการเรียนการสอนได้
นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2544
ยังกำหนดให้สถานศึกษาสร้างหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการที่สถานศึกษานำสภาพต่างๆ
ที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน
สังคมและประเทศชาติ
มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง
และเพิ่มเติมสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หรือรายวิชาได้ตามความถนัด
ความสนใจของผู้เรียน โดยความร่วมมือของ ทุกคนในโรงเรียนและชุมชน
หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากข้อมูลสารสนเทศด้านต่างๆของ
สถานศึกษาและชุมชน
สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการระดมทรัพยากรทั้งของ
สถานศึกษาและชุมชนมาอย่างคุ้มค่า เต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ,
2545 ค. หน้า 5-6)
สรุปได้ว่า
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะนอกจากภาระที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแล้ว
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในชุมชนท้องถิ่นของตน
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
1. การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น
เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ
เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง
ดังนั้น
กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
และความต้องการของท้องถิ่นได้
2. การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง
สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
อุดม เชยกีวงศ์ (2545,
หน้า 33-37) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน
เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
3. การจัดทำผังหลักสูตร
4. การเขียนแผนการสอน
4.1
การกำหนดหัวข้อเรื่อง
4.2
การเขียนสาระสำคัญ
4.3
การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
4.4
การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
4.5
การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
4.6
การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.7
การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
5. การจัดการเรียนการสอน
6. การประเมินผล
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น
ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นที่ 4
พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
ขั้นที่ 5
ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่
ขั้นที่
6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543,
หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน
ดังนี้
1.
จัดตั้งคณะทำงาน
2.
ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3.
กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4.
เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
5.
กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6.
ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
7.
เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
8.
นำหลักสูตรไปใช้
9.
ประเมินหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น