วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร


ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

1. ปัญหาด้านการยอมรับในการเปลี่ยนแปลง
1.1. สาเหตุ
1.1.1. การขาดความเข้าใจหรือประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา
1.1.2. บรรทัดฐานทางสังคม
1.1.3. การยอมรับของกลุ่ม
1.1.4. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
1.1.5. การให้อำนาจในการกำหนดกิจกรรม
1.2. การแก้ปัญหา
1.2.1. การพัฒนานวัตกรรม
1.2.1.1. คือทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ส่งผลดีกว่าเดิม
1.2.2. การเปิดรับการเปลี่ยนแปลง
                 1.2.2.1. ผู้นำการศึกษาควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงร่วมกับครูและเจ้าหน้าที่ทุกคน
1.2.2.2. วิเคราะห์สถานการณ์
1.2.2.3. วางแผนการเปลี่ยนแปลง
1.2.2.4. พัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดหลักสูตรร่วมกัน
1.2.2.5. ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
2. ปัญหาจากหลักสูตร
2.1. สาเหตุ
2.1.1. การกำหนดความชัดเจนของกรอบแนวคิด
2.1.1.1. ความซับซ้อนและความไม่กระจ่างของรายละเอียด
2.1.1.2. กรอบแนวคิดและข้อความในการพัฒนาหลักสูตร
 2.2. การแก้ปัญหา
2.2.1. ผู้เรียนควรได้เรียนรู้และแนวคิดที่จะพัฒนาให้รู้จักลำดับความคิดเชิงระบบ
2.2.2. หลักสูตรต้องเปิดช่องว่างเพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้ใช้หลักสูตรได้ตีความและเติมเต็ม
2.2.3. พัฒนาหลักสูตรที่กำหนดเนื้อหาสาระที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.4. กำหนดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ที่อยู่แวดล้อมตัวเด็กมากกว่าครู
3. ปัญหาจากการขาดภาวะผู้นำและการนิเทศติดตาม
3.1. สาเหตุ
3.1.1. ความต้องการกำลังคนในอนาคต
3.2. การแก้ปัญหา
3.2.1. นักศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
3.2.2. พัฒนาคนโดยผ่านระบบการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
3.2.3. ผู้บริหารเป็นผู้เริ่มต้นและนำพาองค์กร
3.2.3.1. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลักสูตรอยู่ตลอดเวลา
3.2.3.2. เป็นผู้นำที่ช่วยให้เกิดความเจริญในการเรียนรู้ของนักเรียน
3.2.3.3. เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
3.2.3.4. เป็นผู้ที่ต้องจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
3.2.3.5. สร้างบรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียน
3.2.3.6. มีพฤติกรรมการบริหารและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         3.2.3.7. ให้คำแนะนำด้านหลักสูตรกับครูทุกคนและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงด้านนโยบายในโรงเรียน
3.2.3.8. เป็นแรงบันดาลใจ ให้พลังกับทีม ให้กำลังใจ
3.2.3.9. เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้คอยให้การสนับสนุนและคอยติดตามความก้าวหน้า
3.2.3.10. เป็นผู้นำที่เข้าใจหลักสูตรสถานศึกษาทั้งหมดในภาพรวม
3.2.3.11. พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผล
3.2.3.12. ต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า
3.2.3.12.1. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จได้
3.2.3.12.2. ความสำเร็จในระดับต้นจะนำไปสู่ความสำเร็จในระดับต่อๆไป
3.2.3.12.3. โรงเรียนเป็นสถาบันที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จ
                   3.2.3.12.4. ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นตัวชี้วัดการจัดการศึกษาและการตัดสินใจของผู้บริหารกับครู

4. ปัญหาที่เกิดจากครูผู้ปฏิบัติ

4.1. ตัวครูมีผลกระทบกับการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตร
4.1.1. ไม่พัฒนาตนเอง
4.1.2. ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่
4.1.3. ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
4.1.4. สอนด้วยวิธีการเดิม ๆ
4.1.5. การไม่ได้รับการสนับสนุน
4.1.6. หมดกำลังใจ ขาดแรงบันดาลใจ
4.2. การมองเป้าหมายของการศึกษาผิดไปจากเดิม
4.2.1. ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง รายได้ ความก้าวหน้า บทบาทหน้าที่และความมีหน้ามีตาทางสังคม การยอมรับจากสังคมภายนอก
4.2.2. ลืมภารกิจและกลุ่มเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาของโรงเรียน
4.2.3. แสวงหารางวัลจากการประกวดการแข่งขัน
5. ปัญหาจากผู้เรียน
5.1. ด้านความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน
5.1.1. พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน
5.2. การสอนตามหลักที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สวนทางกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
6. ปัญหาจากปัจจัยภายนอก
6.1. นโยบายการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง
6.1.1. การประกันคุณภาพการศึกษา
6.1.2. การประเมินผลการศึกษาระดับชาติ
6.2. ค่านิยม
6.2.1. การยอมรับคนเก่ง โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ
6.2.2. หลักสูตรสถานศึกษาที่ใช้กันอยู่ในโรงเรียนไม่ได้รับการยอมรับในสถาบันการศึกษา
6.3. บริบทของสังคมที่อยู่รอบ ๆ ของโรงเรียน ผู้เรียน วัฒนธรรมของชั้นเรียนและโรงเรียน
7. สรุปได้ว่า ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร เกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้านตัวหลักสูตรเอง ด้านการขาดภาวะผู้นำ ด้านตัวครูผู้ปฏิบัติ และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ บริบทของสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน

ลักษณะของหลักสูตรที่ดี

หลักสูตรที่ดี



ในการประชุมวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจําป พ.ศ.2558 ระหวางวันที่ 14-16 ตุลาคม 2558 ณ ศูนยนิทรรศการและการประชุมไบเทค มีการเสวนา เรื่อง “หลักสูตรสรางชีวิต ศิษยคุณภาพ” ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2558 เวลา 13.00 - 14.30 น. วิทยากรประกอบดวยรองศาสตราจารย ดร.วรากรณ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบััณฑิต ดร.สิริกร มณีรินทร อดีตรัฐมนตรีชวยวาการกระทรวงศึกษาธิการ และคุณประกอบ รัตนพันธ อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษา สภาผูแทน ราษฎร โดยมี ดร.พรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เปนผูดําเนินรายการ QA NEWS จึงขอนําสรุปประเด็นการเสวนาที่ สมศ. ไดสรุปไวมานําเสนอ

ดร.พรชัย มงคลวนิช กลาววา หลักสูตรมีความสําคัญตอการจัดการเรียนการสอนมาก หลักสูตรไมไดเปนแคตัวหนังสือเพียงอยางเดียว แตมีองคประกอบสําคัญหลายอยาง ประกอบดวย
         1) ดาน Learning Skills ผูเรียนจะตองรูจักทักษะการหาความรู ซึ่งปจจุบันเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว ดังนั้น การศึกษา ที่ดีตองสามารถตอบสนองการทํางานในอนาคตได
2) ดาน Life Skill หรือการมีทักษะชีวิต ผูเรียนตองสามารถควบคุมอารมณ ตนเองรวมถึงอารมณของผูอื่นได เพราะคนที่มีทักษะชีวิตเปนคนที่ ทันสมัย สามารถปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก ภายนอกได และ
3) หลักสูตรที่ดีตองเนนการปฏิบัติจริงได ที่สําคัญ ตองงาย ชัดเจน และไมซับซอน ปญหาของหลักสูตร คือ การขาดระบบการจัดการและขอมูลยอนกลับ ซึ่งตองมีกระบวนการพัฒนา หลักสูตรที่ครบวงจรตามระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน แบบ Top Down Approach และ Bottom Up Approach โดยมีผูรับผิดชอบดานการวิจัยและพัฒนา และตองมีวิธีการกํากับ ดูแลหลักสูตรเพื่อพัฒนาใหการเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ดร.พรชัย ยังไดกลางวา หลักสูตรควรมีความสอดคลองกับ ธรรมชาติของผูเรียน ซึ่งบางครั้งสอนนอยอาจจะรูมาก สอนมาก อาจจะรูนอย ดังนั้น การเรียนที่ดีตองมีครูที่คอยชี้แนะ หาแนวทาง บอกทิศทาง รวมกันวิเคราะหและสังเคราะหกับผูเรียน รองศาสตราจารย ดร.วรากรณ สามโกเศศ กลาววา ปญหา ของหลักสูตรการศึกษาไทย คือ ไมวาหลักสูตรจะปรับปรุงเปน เชนไร ครูจํานวนมากก็ยังสอนตามที่ตัวเองจะสอน หลักสูตรที่ดี คือ เปนหลักสูตรที่คํานึงถึงการเรียนมากกวาการสอน การสอนที่ มีการบรรยายความรูตางๆ ใหผูเรียนฟงเปนลักษณะการสอนใน ศตวรรษที่ 19 แตปจจุบันความรูไมไดอยูที่ครู แตอยูในเทคโนโลยีและแหลงเรียนรูตางๆ
 ดร.วรากรณกลาวตอไปวา หลักสูตรที่ดีควร มี 2 ลักษณะ ดังตอไปนี้
1. ตองตองคํานึงถึงการเรียนรู ไมใชการสอน (Teach Less and Learn More)
2. ตองทันสมัย โดยมีทักษะชีวิต ซึ่งไมแปรผันตามเทคโนโลยีตางๆ ที่มีความกาวหนาไปอยางรวดเร็ว การมีทักษะชีวิตควรมีลักษณะดังนี้
1) คิดเปน (Critical Thinking) หากเปนคนที่คิดเปนก็จะ ทําใหตัวเองทันสมัยไดตลอดเวลา การคิดเปนจะตองมีลักษณะ 4 ประการ คือ
(1) เขาใจสถานการณที่เปนอยู
(2) สามารถพยากรณ สถานการณที่เปนอยูได
(3) สามารถแกปญหาที่เกิดขึ้นได และ
         (4) เรียนรูบทเรียนจากสิ่งที่เกิดขึ้นได ซึ่งลวนเปนเรื่องสําคัญ อยางยิ่งที่ตองมีในหลักสูตรการเรียนรู
2) มีความสามารถในการพูด ศึกษา และการโนมนาวผูอื่น
3) เรียนรูที่จะควบคุมกํากับอารมณของตนเอง คือ สามารถ เปลี่ยนอารมณจากลบเปนบวกได และเปลี่ยนจากเศราเปนสุขได
4) สามารถจัดการกับอารมณของผูอื่นได คือ สามารถจัดการ อารมณรอนๆ ของผูอื่นใหเย็นลงได และสามารถปลุกเราให คนอื่นเชื่อและปฏิบัติตามได
5) หลักสูตรที่อํานวยใหเกิดคุณธรรม จริยธรรม คือ ทําให คนทําในสิ่งที่ควรจะทําและถูกตอง ไมไดทําเพื่อคิดวาจะไดรางวัล หรือไมทําแลวจะถูกลงโทษ ทําในสิ่งที่ควรทํา ถึงแมวาจะไมมีใครเห็นก็ตาม ดร.วรากรณยังกลาววา ไมวาหลักสูตรจะเปนอยางไร จะตองนําไปปฏิบัติได หลักสูตรที่สวยหรู หลักสูตรที่อยูในอากาศ หลักสูตรที่นําไปปฏิบัติไมได หลักสูตรที่ตองใชคนที่มีความรูเฉพาะอยางลวนนําไปสูความลมเหลว หลักสูตรที่ดีที่สุดตองเปนหลักสูตรที่เขาใจไดงายที่สุด สามารถทําใหเกิดขึ้นจริงได จึงจะทําใหการศึกษามีคุณภาพ
ดร.สิริกร มณีรินทร กลาววา ปญหาของหลักสูตรการศึกษาของไทย คือ ขาดระบบการจัดการเรื่องหลักสูตร และขาดขอมูลยอนกลับ สิ่งสําคัญควรมองจุดเริ่มตนของหลักสูตร ดูคุณลักษณะที่พึงประสงคของคนไทยวาเปนอยางไร สมรรถนะสําคัญของผูเรียน คือ เปนผูสรางงาน ทํางานเปนเครือขาย เปนผูพัฒนาตนเอง ใหมีความสุข พอเพียงและแบงปน เปนผูใฝรูและเรียนรูตลอดชีวิต และเปนสมาชิกที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก หลักสูตรที่ดีจะตองมีการทํางานรวมกันใหครบวงจรตามระบบ หลักสูตรและการเรียนการสอน แบบ Top Down Approach และ Bottom Up Approach ดังนี้ หลักสูตรที่คาดหวัง (Intended Curriculum) ไปสูระดับนําไปใช (Implemented Curriculum) ตองมีการเตรียมคําอธิบายหลักสูตร คูมือครู หนังสือเรียน สื่อ วัสดุ อุปกรณการเรียนการสอน ฯลฯ และไปสูระดับที่นักเรียนไดเรียนรูจริง (Attained Curriculum) โดยมีการฝกหัดครู พัฒนา ครู และผูบริหารสถานศึกษา ฯลฯ ทั้งนี้ หลักสูตรระดับนําไปใช (Implemented Curriculum) จะตองมีการสรางแบบทดสอบ ทดสอบสมรรถนะผูเรียนวาไดตามที่คาดหวังหรือไม ฯลฯ และไปสูระดับที่คาดหวัง (Intended Curriculum) คือ มีการวิจัยเชิง นโยบาย จัดทําขอเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงหลักสูตรตอไป ดร.สิริกร ยังไดกลาวถึงปจจัยที่ทําใหผูเรียนประสบความสําเร็จ คือ ปฏิสัมพันธที่ดีระหวางครูกับผูเรียน วิธีการสอนใหเขาใจไมใช ทองจํา และการสรางแรงบันดาลใจถึงความสําเร็จ และปจจัยที่ทําให ครูประสบความสําเร็จในการจัดการเรียนการสอน คือ
1) การเตรียม การสอน
2) การพัฒนาองคความรูเพื่อใชในการสอนหรือ การออกแบบหลักสูตร
3) การทํางานรวมกับลูกศิษยแบบตัวตอตัวรายบุคคล
         4) แลกเปลี่ยนเรียนรูกับเพื่อนครูเพื่อพัฒนาการสอน และ
         5) จัดกิจกรรมพิเศษตางๆ นอกเหนือจากการเรียนรูในชั้นเรียน

คุณประกอบ รัตนพันธ กลาววา หลักสูตรมีความสําคัญมาก เพราะเปนเข็มทิศไปสูการเดินทางไปสูเปาหมายแหงความสําเร็จ หลักสูตรที่ดีนั้นควรสอดคลองกับธรรมชาติของผูเรียน กลาวคือ
1) ธรรมชาติของผูเรียนไมชอบความจํากัด หากไดเรียนนอกหอง ก็จะมีความสุข
2) ผูเรียนไมชอบการแขงขัน
3) ในการเรียนรู หากสอนมากผูเรียนจะรับนอย ความเชื่อมโยงนอยและลืมเร็ว ดังนั้น ครูที่ดีที่สุด คือ ครูที่ไมสอนเลย แตคอยชี้แนะหาแนวทาง บอกทิศทาง รวมกันวิเคราะหและสังเคราะหกับผูเรียน ซึ่งสิ่งเหลานี้มีความสําคัญตอการนําไปสูการจัดทําหลักสูตรมาก หลักสูตรที่ใชอยูปจจุบันทุกระดับคอนขางดีมาก เพราะมีความยืดหยุน แตการนําหลักสูตรไปใชมีปญหาในเชิงปฏิบัติ

หลักสูตรที่ดีจะตองมีองคประกอบ 3 สวน คือ
1) มีองคประกอบเชิงวิชาการ
2) มีองคประกอบวิชาชีพ คือ วิชาที่ผูเรียนจะนําไป ประกอบอาชีพในอนาคต และ
3) มีองคประกอบวิชาคน คือ การเปนคนที่มีระเบียบวินัย รูจักความรับผิดชอบ มีจริยธรรม การเปนมนุษยที่มีความสมบูรณ และหลักสูตรที่ดีนั้นจะตองนําไปสูการปฏิบัติได คุณประกอบยังกลาวเสริมวา การเขาสูประชาคมอาเซียนนั้น ตองดูบริบทของอาเซียนในการจัดทําหลักสูตร โดยนํา 3 เสาหลัก ของประชาคมอาเซียนมาบรรจุลงในหลักสูตรใหเกิดความพอดี และสิ่งที่ควรตระหนัก คือ ตองจัดหลักสูตรใหเปนพลโลก เพราะ มีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว และตองสอนใหผูเรียนรูจัก แหลงเรียนรูตางๆ เชื่อมโยงในเรื่องเทคโนโลยีและภาษาที่เปนสากล

ครูกับการจัดการเรียนการสอน


ครูกับการจัดการเรียนการสอน

ในสังคมโลกปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง มนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาพัฒนากระบวนการคิดได้อย่างหลากหลาย และสามารถนำความรู้ที่พัฒนามาประดิษฐ์คิดค้น สร้างความเจริญให้แก่โลกเยี่ยงยุคปัจจุบัน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุว่า การศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มาตรา 24(5) กำหนดให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้การวิขัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญและการประยุกต์ใช้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ เกิดจิตวิทยาศาสตร์และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  


กระบวนการจัดการเรียนการสอน
ครูจะเตรียมตัวเองอย่างไร ?
ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทาง ศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยาศาสตร์ กระบวนการวัดและประเมินผล พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นกระบวนการให้ชื่อว่าเทคนิคการเรียนรู้
 - จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบกงล้อกงหัน มี 7 ขั้นตอนดังนี้
          1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
          2.ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
          3.ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
          4.ขั้นสร้างสรรค์องค์ความรู้
          5.ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
          6.ขั้นแยบยลผลสรุป
          7.ขั้นสุดท้ายนำไปใช้ มีการสอดแทรกกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัย และมีรายละเอียดการบูรณาการ สาระการเรียนรู้ทั้งในกลุ่มสาระเดียวกัน และต่างกลุ่มสาระ
- เตรียมสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ เช่น ตัวอย่างของจริง ใบความรู้ ชุดฝึกทักษะ กระบวนการคิด การปฏิบัติและการแก้ปัญหา ใบงาน แถบบันทึกเสียง แผ่นโปร่งใส ฯลฯ
- เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล เช่น แบบทดสอบ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินกลุ่มเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบประเมินทักษะการทดลอง ฯลฯ

ครูจะเตรียมผู้เรียนอย่างไร ?
- ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 
- จุดประกายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เร้าความสนใจ การระดมความคิด กิจกรรมละลายพฤติกรรม ฯลฯ

แล้วครูจะจัดเตรียมการเรียนการสอนอย่างไร ?
การจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ กงล้อกงหันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญดังนี้
         1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
         2.ขั้นเพียรศึกษาค้นคว้า
         3.ขั้นพัฒนาความรู้และฝึกประสบการณ์
         4.ขั้นสร้างสรรค์ความรู้
         5.ขั้นมุ่งสู่การประเมินผล
         6.ขั้นแยบยลผลสรุป
         7.ขั้นสุดท้ายนำไปใช้

เป็นการเร้าความสนใจของผู้เรียนก่อนการเรียนรู้ ในการนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะนำโดยครูผู้สอน ครูและนักเรียน หรือนักเรียนเป็นผู้นำเข้าสู่บทเรียนลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะก็ได้ โดยใช้แถบบันทึกเสียง ภาพ ข่าว หนังสือพิมพ์ เกม เพลง ดูวีดีทัศน์หรืออาจจะเป็นการทบทวนความรู้เดิม รูปภาพ คำถาม หรือกิจกรรมอื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
 เป็นขั้นที่ให้ความรู้ใหม่ ที่เชื่อมโยงกับขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ผู้สอนต้องใช้นวัตกรรมให้เกิดการเรียนรู้ความรู้ใหม่ โดยการใช้ใยความรู้ ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน ชุดการเรียน ศูนย์การเรียน วีดีทัศน์ ฝึกทักษะพื้นฐานการวิจัยตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์ ทดสอบ ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล
เป็นการฝึกระหว่างสอนในเรื่องที่ได้ศึกษาในขั้นที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ฝึกฝนกระบวนการคิดการแก้ปัญหา โดยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุด เป็นการพัฒนาความรู้ความคิดของผู้เรียนให้เกิดแบบยั่งยืน
 เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกความคิดรวบยอดในเรื่องที่ได้ศึกษามา โดยการเขียนเป็นข้อสรุปที่เข้าใจง่าย เช่น การเขียนแบบแผนที่ความคิด (Mind Mapping) การเขียนแบบมโนมิติ หรือเขียนสรุปใจความสั้นๆ
เป็นการประเมินระหว่างสอนตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหา เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ในเนื้อหานั้น ๆ อาจทำได้โดยให้ผู้เรียนตอบคำถามเล่าเรื่องนำเสนอในสิ่งที่สร้างสรรค์ไว้ ในขั้นที่ 4 หรือบันทึกผลการทดลอง หรือใช้วิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมหรืออาจจะผลตามสภาพจริง (ตนเองประเมิน เพื่อนประเมิน และครูประเมิน)
เป็นการสรุปเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ อาจจะสรุปโดยผู้เรียนหรือครูผู้สอนหรือครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุป อาจจะใช้สื่อช่วยในการสรุป เช่น ใช้ในสรุปเนื้อหา ใช้วีดีทัศน์หรือรูปภาพประกอบการสรุป
 เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ในแหล่งชุมชน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ทำงานหรือเตรียมบทเรียนต่อไป หรือการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่ชัดเจน เช่น แบบประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

หลักสูตรท้องถิ่นและการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่น มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของหลักสูตรท้องถิ่นพอสรุปได้ ดังนี้ ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 107) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง มวลประสบการณ์ที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานและบุคคลในท้องถิ่นจัดให้แก่ผู้เรียนตามสภาพและความต้องการของ ท้องถิ่นนั้น ๆ วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542, หน้า 124) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น คือ การนำหลักสูตร แกนกลางทั้งเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่พัฒนามาจากส่วนกลาง มาปรับขยายหรือเพิ่ม หรือสร้างหลักสูตรย่อยขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น อุดม เชยกีวงศ์ (2545,หน้า 6) กล่าวว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่สถานศึกษาหรือครูหรือผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตจริงเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมอย่างมีความสุข สำลี ทองธิว (2543, หน้า 18 อ้างถึงใน ณัฐกานต์ เรือนคำ, 2546, หน้า 13) ได้กล่าวไว้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง ดังนี้
         1. เนื้อหาสาระ โครงสร้าง การจัดเวลา การบริหารหลักสูตร ซึ่งมาจากความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นสาระ แนวคิด หลักการที่คนในท้องถิ่นให้ความสำคัญ และมองเห็นความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น ๆ
2. เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสร้างอย่างเท่าเทียมกันครูและผู้บริหาร โรงเรียน
3. เป็นหลักสูตรที่คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน หรือค้นหาความรู้ทัศนะในการเป็นคนในชุมชน
4. เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานวัฒนธรรมของท้องถิ่น ความเป็นท้องถิ่นกับความสามารถในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เป็นการพัฒนาท้องถิ่นลักษณะเพื่อความยั่งยืนของท้องถิ่นนั้น ๆ

จากความหมายที่ศึกษา สรุปตามกรอบความคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของผู้วิจัยได้ว่า หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยการขยายสาระที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามสาระและมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้วในสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชน สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณสมบัติอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 311) ได้กล่าวถึงเหตุผลความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นว่า หลักสูตรท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับหลักการของการพัฒนาหลักสูตรได้มากที่สุดด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. ตามหลักการของหลักสูตรนั้น หลักสูตรที่สร้างขึ้นจำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและสนองความต้องการของสังคมชุมชนที่ใช้หลักสูตรนั้น ๆ โดยเหตุนี้หากหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้ในชุมชนแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะก็ย่อมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมชุมชนนั้นได้มากที่สุด
2. ในการพัฒนาหลักสูตรได้มีการยอมรับความสำคัญของผู้ใช้และให้ผู้ใช้หลักสูตรมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร ในทางปฏิบัติหากหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในระดับชุมชนที่ไม่กว้างขวางมากนักก็ย่อมสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใช้หลักสูตรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรได้

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539, หน้า 109-110) กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรแม่บท ได้กำหนดจุดหมาย เนื้อหาสาระ และกิจกรรมอย่างกว้างๆ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้คล้ายคลึงกัน ทำให้กระบวนการเรียนการสอนมุ่ง เนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่เป็นหลักการทั่วไป ไม่สาสามารถประมวลรายละเอียดเกี่ยวกับสาระความรู้ตามสภาพของท้องถิ่นได้ จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต เพื่อให้นำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนดำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นสุข
3. การเรียนรู้ที่ดีควรจะเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปยังสิ่งที่ไกลตัว เพราะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถดูดซับได้เร็วกว่า จึงควรมีหลักสูตรระดับท้องถิ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ชีวิตจริงตามสภาพของท้องถิ่น ช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกผันต่อท้องถิ่น
4. ทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยหลักสูตรท้องถิ่นสามารถเอาทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหลายมาใช้ในการเรียนการสอนได้

นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ยังกำหนดให้สถานศึกษาสร้างหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดจากการที่สถานศึกษานำสภาพต่างๆ ที่เป็นปัญหา จุดเด่น เอกลักษณ์ของชุมชน สังคม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ มากำหนดเป็นสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบนพื้นฐานของหลักสูตรแกนกลาง และเพิ่มเติมสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หรือรายวิชาได้ตามความถนัด ความสนใจของผู้เรียน โดยความร่วมมือของ ทุกคนในโรงเรียนและชุมชน หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากข้อมูลสารสนเทศด้านต่างๆของ สถานศึกษาและชุมชน สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการระดมทรัพยากรทั้งของ สถานศึกษาและชุมชนมาอย่างคุ้มค่า เต็มตามศักยภาพ (กรมวิชาการ, 2545 ค. หน้า 5-6)
สรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากเพราะนอกจากภาระที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาแล้ว การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สถานศึกษาจะต้องจัดทำเพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในชุมชนท้องถิ่นของตน

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 312-314) ได้เสนอวิธีการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 2 ลักษณะ คือ
1. การประเมินหลักสูตรแกนกลางให้เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้ในประเทศไทยเป็นหลักสูตรในส่วนกลางและได้ใช้หลักสูตรเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีมาตรฐานขั้นต่ำทางด้านการศึกษาในระดับเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้กว้างขวางในระดับประเทศเช่นนี้จึงมีเนื้อหาสาระซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นอยู่บ้าง ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นทำการปรับเนื้อหาของหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของท้องถิ่นได้
2. การสร้างหลักสูตรย่อยในระดับท้องถิ่นขึ้นมาเสริมหลักสูตรแกนกลาง สำหรับนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น 
อุดม เชยกีวงศ์ (2545, หน้า 33-37) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดังนี้
1. การสำรวจสภาพปัญหาชุมชน เป็นการศึกษาความเป็นอยู่ของชุมชนและผู้เรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างแท้จริง
2. การวิเคราะห์สภาพปัญหาและกำหนดความต้องการ
3. การจัดทำผังหลักสูตร
4. การเขียนแผนการสอน
4.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง
4.2 การเขียนสาระสำคัญ
4.3 การกำหนดขอบเขตเนื้อหา
4.4 การกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทาง
4.5 การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง
4.6 การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.7 การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
5. การจัดการเรียนการสอน
6. การประเมินผล


สงัด อุทรานันท์ (2532, หน้า 314-315) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในระดับท้องถิ่น ให้เป็นไปอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 จัดตั้งคณะทำงาน
ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นที่ 3 กำหนดจุดมุ่งหมายสำหรับหลักสูตรท้องถิ่น
ขั้นที่ 4 พิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรกลางกับสภาพของท้องถิ่น
ขั้นที่ 5 ดำเนินการเลือกเนื้อหาสาระของหลักสูตร และ/หรือจัดสร้างรายวิชาขึ้นมาใหม่ 
ขั้นที่ 6 ดำเนินการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 7 ประเมินผลการใช้หลักสูตร
ขั้นที่ 8 ทำการปรับปรุงแก้ไข

นอกจากนี้ นิรมล ศตวุฒิ (2543, หน้า 119-120) กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ตามขั้นตอน ดังนี้
1. จัดตั้งคณะทำงาน
2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
3. กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
4. เลือกและจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
5. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6. ตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
7. เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตร
8. นำหลักสูตรไปใช้
9. ประเมินหลักสูตร

จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย


จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย คำตอบอยู่ที่...ห้องเรียน




จุดเปลี่ยนการศึกษาไทย คำตอบอยู่ที่...ห้องเรียน

         ในขณะที่ทั่วโลกกำลังพูดถึงการศึกษาศตวรรษที่ 21 ซึ่งว่าด้วยการปลูกฝังทักษะความรู้เพื่อเตรียมพร้อมให้เยาวชนสามารถรับมือกับความท้าทายอันเกิดมาจากความซับซ้อนของสังคมและปัญหาใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน ระบบการศึกษาไทยยังคงประสบกับวิกฤติที่แก้ไม่ตก การวัดประเมินผลทางการศึกษาด้วยมาตรวัดต่างๆ พบว่านักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ อยู่ในระดับรั้งท้ายของการจัดอันดับนานาชาติ อีกทั้งยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกาภิวัตน์
ไม่ว่าจะจับไปที่จุดใดก็ดูเหมือนจะพบแต่ปัญหา ถ้าเช่นนั้นแล้วความหวังที่จะออกจากวังวนดังกล่าวมีหรือไม่ คืออะไร?
ฟังคำตอบจาก ผศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครูผู้ปฏิวัติชั้นเรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่ โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบปลายเปิด (Open Approach) จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศแรกที่เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนไปสู่การให้ความสำคัญกับกระบวนการคิด และเชื่อว่าความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่คำตอบแต่อยู่ที่การให้เหตุผล ประสบการณ์กว่า 30 ปีของอาจารย์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ลดบทบาทการ “สอน” ของครู แต่เพิ่มการ “ถาม” เพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด สามารถเกิดขึ้นได้จริงในบริบทสังคมไทย เป็นที่ประจักษ์ในโรงเรียนนับร้อยแห่ง


โลกการเรียนการสอนกำลังเปลี่ยนไป แล้วไทยล่ะ?



ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกๆ ของโลกที่มองเห็นจุดอ่อนของการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่เน้นเนื้อหาสาระวิชา และเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่การสอนซึ่งเน้นที่กระบวนการคิดของนักเรียน เริ่มตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เมื่อญี่ปุ่นจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด หลักสูตรที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ได้กำหนดเรื่องการสอนทักษะการคิดไว้อย่างชัดเจน ก่อนหน้าที่ทั่วโลกจะเกิดความตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวเกือบ 50 ปี แม้แต่ในรายวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งดูเหมือนศาสตร์ที่มีคำตอบถูกผิดไว้อย่างตายตัว ก็ยังสอนให้เด็กนักเรียนพัฒนากระบวนการคิดในเชิงตรรกะ (Mathematical Thinking) ไม่ใช่การสอนคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์สุดท้าย
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด หรือ “กระบวนทัศน์ใหม่ของการเรียนการสอนในห้องเรียน” เริ่มปรากฏให้เห็นจากฝั่งยุโรป ดังเช่นที่เนเธอร์แลนด์ ฮังการี จากนั้นจึงข้ามฝั่งมายังอเมริกา ส่วนสิงคโปร์เพิ่งเริ่มต้นปรับชั้นเรียนเมื่อหลังปี 2000 แต่ก็มีการพลิกโฉมก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันทั้งญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน ฯลฯ ล้วนตกผลึกความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบไม่เน้นการท่องจำ จนเกิดเป็นตำราและคู่มือครูที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และกลายเป็นผู้นำด้านการศึกษาที่ทั่วโลกอยากดำเนินรอยตาม
 “ถ้าการศึกษาไทยยังไม่เปลี่ยน คนจะขาดความสามารถในการคิดเชิงแก้ไขปัญหา เอาผลมาเป็นเหตุเอาเหตุมาเป็นผล มั่วไปหมด ระบบการศึกษาของหลายประเทศทั่วโลกกำลังติดอยู่ในกับดักแบบเดียวกันนี้ แนวโน้มความเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงจึงมุ่งไปที่การสอนด้วยวิธีแก้ไขปัญหา (Problem Solving Approach) เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง”


เปลี่ยน ‘วัฒนธรรมอำนาจ’ ในห้องเรียน



ปัญหาคุณภาพการศึกษามักจะถูกเชื่อมโยงไปยังบทบาทและคุณภาพของครูผู้สอน แต่ทัศนะเช่นนี้กลับจะทำให้ครูตกเป็นจำเลยของสังคม ซึ่งไม่ใช่หนทางที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา แน่นอนว่าจุดเปลี่ยนของปัญหานี้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในระดับห้องเรียน แต่จะต้องมองชั้นเรียนในฐานะที่เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community-PLC)
“การแก้ไขปัญหาการศึกษา เราต้องปักหมุดไปที่โรงเรียน แต่ให้ครูทำงานฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องมานั่งหัวโต๊ะทุกสัปดาห์ด้วย เพื่อมาวางแผนการทำงานร่วมกับครู ให้ครูนำเสนอแผนการสอนเป็นรายคาบแล้วมาร่วมกันสะท้อนความเห็น (Reflection) ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์ร่วมกับครูชำนาญการ ครูเชี่ยวชาญ ก่อนเปิดภาคเรียนก็ต้องร่วมกันวางแผน ครูห้ามทำงานคนเดียว ครู ป.1-ป.3 ต้องจัดเป็นทีมเดียวกัน ป.4-ป.6 อีกทีมหนึ่ง เพราะการทำงานคนเดียวทำให้เกิดนวัตกรรมไม่ได้
“ทุกวันนี้ แต่ละโรงเรียนต่างคนก็ต่างอยู่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกัน ผู้อำนวยการก็วิ่งไปเขตไปนู่นไปนี่ ศึกษานิเทศก์ที่มีกว่าสี่พันคนก็มักจะอยู่ตามเขตคอยทำงานส่งกระทรวง เขาไม่ค่อยลงไปโรงเรียนอยู่แล้ว ครูจึงยังไม่มีวิธีการสอนที่ดีและไม่มีกระบวนการปรับปรุงการทำงาน”
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของครู ให้มีการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องแล้ว วัฒนธรรมเชิงอำนาจระหว่างครูกับศิษย์ก็ต้องเปลี่ยนแปลง
 “ห้องเรียนไทยไม่เคยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน เวลาครูโยนคำถามแล้วนักเรียนแสดงความคิดเห็นกลับมา ครูบางคนบอกว่ารับไม่ได้ ความคิดแบบนั้นผิด เขาจะผิดได้ยังไงล่ะเพราะเขายังไม่ได้ให้เหตุผลเลย ถ้าอย่างนั้นแปลว่าความคิดของทุกคนควรจะถูก เพราะมันคือการยอมรับความมีเหตุผลของเขา ซึ่งเท่ากับยอมรับความเป็นคน ถ้าคุณปฏิเสธความคิดของเขาก็แปลว่าคุณปฏิเสธความเป็นคนของเขาด้วย”
ห้องเรียนที่ดีจึงเป็นพื้นที่ที่นักเรียนได้พูด ได้แสดงความคิดเห็น และมีโอกาสทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเป็นโจทย์ ชั้นเรียนที่ครูเป็นผู้กุมบทบาทในการพูดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของคาบเรียนไม่มีวันนำนักเรียนไปสู่การแก้ปัญหา ครูจึงต้องรู้จัก “เอาเทปปิดปากตัวเองไว้” เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สังเกตห้องเรียน แล้วคอยจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

จุดอ่อนของการบริหารการศึกษาแบบรวมศูนย์



ระบบการบริหารแบบราชการที่ครอบงำโรงเรียนอยู่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารการศึกษา การที่ส่วนกลางไม่ได้กระจายอำนาจการบริหารที่แท้จริงลงไปยังพื้นที่นับเป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษา ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาจะพบว่าไม่ได้เป็นระบบแบบรวมศูนย์
 “เรามีความพยายามในการวางรากฐานด้านการศึกษามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และนับแต่นั้นมาโรงเรียนของเราไม่เคยเปลี่ยน เพราะเราฝึกโรงเรียนให้เป็นระบบราชการ กลไกที่บริหารจัดการก็เป็นระบบราชการ และเป้าหมายก็เป็นไปเพื่อราชการ มันจึงมีปัญหา ที่ญี่ปุ่นใครก็สั่งให้ครูออกไปทำงานอย่างอื่นนอกโรงเรียนไม่ได้ แต่ของเราผู้อำนวยการสั่งงดการเรียนการสอนเพื่อไปทำงานอย่างอื่นนอกโรงเรียนได้ และส่วนกลางก็สามารถดึงครูออกจากห้องเรียนไปอบรมอะไรต่อมิอะไรได้เต็มไปหมด”
นอกจากนั้น นโยบายการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายของฝ่ายการเมือง ทำให้การพัฒนาการศึกษาไทยขาดทั้งทิศทางที่ชัดเจนและความต่อเนื่องในระดับปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรมีการบัญญัติกฎหมายควบคุมดังเช่นที่เกาหลีใต้กำหนดไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแกนกลางภายใน 7 ปี ญี่ปุ่นกำหนดมิให้เปลี่ยนแปลงไว้ถึง 10 ปี ทั้งนี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปรับใช้กับหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรระดับผู้เรียน ก็จะทำให้เกิดความต่อเนื่องและสามารถวัดประเมินผลได้จริง

สถาบันผลิตครู แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์



ปัจจุบัน ประเทศไทยมีคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับคุรุสภาประมาณ 80 แห่ง เมื่อนับรวมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าไปด้วยจะมีสถาบันผลิตบุคลากรทางการศึกษาประมาณ 150 แห่ง คิดเป็นจำนวนครูที่ป้อนเข้าสู่ระบบถึงปีละกว่า 50,000 คน หากสถาบันผลิตครูเอาจริงเอาจังด้านคุณภาพและมาตรฐาน และปลูกฝังกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาให้กับบัณฑิต แน่นอนว่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยได้
“คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ทั้งประเทศไม่ได้ตระหนักตรงนี้ หลักสูตรฝึกหัดครูไม่ได้ให้เครื่องมือที่จำเป็นและยังเน้นการสอนเนื้อหาอยู่เหมือนเดิม ...ผมไม่เห็นด้วยเรื่องเรียนจบหลักสูตร 5 ปีแล้วทุกคนสามารถได้ใบประกอบวิชาชีพครูทันที ทั้งๆ ที่ทั่วโลกการได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้เกี่ยวกับหลักสูตรเลย แต่ทุกคนต้องผ่านกระบวนการสอบเพื่อวัดคุณภาพอีกครั้ง คนที่จบสาขาอื่นแล้วอยากมาเป็นครูก็มีสิทธิรับการอบรมและสอบเป็นครูได้ บางประเทศในบางสาขาวิชาเขาถึงกับกำหนดว่าถ้าบัณฑิตสอบใบประกอบวิชาชีพได้ไม่ถึง 25% สถาบันนั้นจะต้องถูกยุบ แต่วิชาชีพครูของบ้านเราบางมหาวิทยาลัยอาจสอบไม่ได้เลย แต่ก็ยังอยู่ในสนามได้ เพราะคุณเปิดหลักสูตร 5 ปี เรียกว่ามีคนมาเดินเข้าออกให้ครบ 5 ปีแล้วก็แจกตั๋วไปคนละใบ เพราะฉะนั้นการให้ใบประกอบวิชาชีพครูของไทยจึงไม่ make sense”
ข้อเสนอต่อประเด็นนี้คือ สถาบันผลิตครูควรจะเข้าไปมีส่วนช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียน นั่นคือให้สถาบันอุดมศึกษาวางแผนการผลิตครูร่วมกับจังหวัด เพื่อให้จำนวนครูแต่ละสาขาสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และนำเอากระบวนทัศน์ใหม่เข้าไปใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียน พร้อมกันนั้นก็ต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรฝึกหัดครูจากเดิมซึ่งการเรียน 4 ปีแรกไม่ได้เน้นภาคปฏิบัติ ให้มีโอกาสร่วมปฏิบัติงานจริงกับครูในโรงเรียนตั้งแต่เข้าศึกษาชั้นปีที่ 1
 “ถ้าระดมกำลังของสถาบันผลิตครูที่มีอยู่ลงไปที่ชั้นเรียนได้หมด การศึกษาของเราจะไปได้เร็วกว่าประเทศรอบๆ ข้าง ทั้งประเทศเรามีโรงเรียนประมาณสามหมื่นโรง เฉลี่ยแล้วให้แต่ละสถาบันฯ ไปดูแลรับผิดชอบแห่งละ 200 โรง ทำไมจะทำไม่ได้ ผมเชื่อว่าแค่ 5 ปีก็เห็นหน้าเห็นหลังแล้ว เรามีคนที่สามารถเข้าไปช่วยมากมายแต่เราพัฒนาไม่เป็น... ถามว่าท้อไหมที่ไม่ค่อยเห็นการศึกษาไทยเปลี่ยนแปลง ผมไม่ท้อเพราะรู้ว่าเราทำไม่ถูกทางเฉยๆ แต่ถ้าทำถูกทาง ทุกอย่างจะเปลี่ยน”