วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

วิดีโอคิดยกกำลังสอง






 
        ปัจจุบันมนุษย์ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต เพื่อให้ทันความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ (AI) การใช้ชีวิตแบบเดิมๆจะอยู่ยากขึ้นทุกวัน เราต้องมีทักษะสำหรับโลกอนาคต หรือที่เรียกว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพราะฉะนั้นเราต้องเครียมตัวสำหรับงานที่ยังไม่มี โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิดเพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับเด็กในอนาคต ซึ่งจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
     

       การเรียนแบบเดิมที่เน้นแค่ตัว I ตัวเดียวคือ Information คือไปเอาข้อเท็จจริง ข้อมูลมาจากห้องเรียน ซึ่งการเรียนแบบนี้จะมีประโยชน์น้อยลง การเรียนรู้จะสู้ AI ได้ต้องมี 4I คือ

-Imagination  มีจินตนาการ
-Inspiration  มีแรงดลใจ
-Insight  มีความเข้าใจลุ่มลึก
-Intultion  มีญาณทัศน์
     

   
       ทักษะแห่งโลกอนาคต มี 3 องค์ประกอบ คือ
-Attitude  คือ ทัศนคติ + อุปนิสัย
-Skill  คือ ทักษะในการเรียนรู้ การทำงานต่างๆ
-Knowledge  คือ ความรู้

      
         การสอนในอนาคตต้องสอนให้เด็กคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ สื่อสารเก่ง อดทน คิดเชิงวิพากษ์ เรียนรู้จากหลายแหล่ง จึงจะเกิดการเรียนรู้ตลอดชีพได้
        การเรียนการสอนต้องเปลี่ยนไป คือ ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น (Active Learning) ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ การปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่ง





การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร
       
        เนตรชนก  ฤกษ์หร่าย กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือการ
เปลี่ยน แปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุนชน ท้องถิ่น มีความ
เหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้เรียน พัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา
รับผิดชอบตนเอง และสังคมได้




การพัฒนาหลักสูตร (ความหมาย)

 

เนตรชนก ฤกษ์หร่าย
อรอนงค์ บุญแผน
สมนึก ทองเพ็ชร
เมทินี จำปาแก้ว
สังเคราะห์ของสุภาพร
   การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มีความเหมาะสมกับ
วิถีชีวิตของผู้เรียน พัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
  การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการที่พัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีนั้นจะต้องมีการใช้จริงแล้วผ่านกระบวนการประเมินหลักสูตรแล้วเห็นสมควรแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุง บางครั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่อาจจะดีอยู่แล้วแต่ต้องการพัฒนาเพื่อไม่ให้หลักสูตรล้าหลัง
  การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้เรียน ทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้
การ พัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วหรือเป้นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยการนำ หลักสูตรเดิมมาปรับโดยการจัดการเรียนการสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิต ประจำวันของผู้เรียนมากขึ้น
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมให้ดียิ่งขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลและสภาพสังคม







 
































ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร

ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา        มหาวิทยาลัยนครพนม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา    คณะครุศาสตร์
1.รหัสและชื่อรายวิชา  
            31300305 การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)
2.จำนวนหน่วยกิต      
            3 หน่วยกิต
3.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
            สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชา (วิชาบังคับ)
4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
            ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
5.ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
            ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
             -
7.สถานที่เรียน
           คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยนครพนม
8.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
           รายวิชานี้ออกแบบไว้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมาย ดังนี้
           8.1.มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
           8.2.วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม                ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและด้านสาขาวิชา
           8.3.มีทักษะในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
           8.4.มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
           8.5.มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร


คำอธิบายรายวิชา

        ศึกษาความหมาย วิเคราะห์ อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทและองค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและ
ต่างประเทศ การวางแผนและการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์



การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
พระธรรมปิฎก (.. ปยุตโต, 2539 : 2 - 4 ) กล่าวไว้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ เป็นคำที่เกิดมาไม่นานนัก (เกิดในช่วง ค..  1965 – 1970 คือ พ.. 2508 – 2513) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่เน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ และต่อมาก็ขยายไปถึงการพัฒนาสังคม เป็นการมองคนอย่างเป็นทุน เป็นเครื่องมือเป็นปัจจัยหรือเป็นองค์ประกอบที่จะใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต่อมาเราเห็นว่าการที่จะพัฒนาโดยมุ่งเน้นแต่ในด้านเศรษฐกิจนั้นไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่สำคัญคือ คนเรานี่เอง ซึ่งควรจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เราจึงหันมาเน้นในเรื่องการพัฒนาคน แต่ก็ยังมีการใช้ศัพท์ที่ปะปนกัน บางทีใช้คำว่าทรัพยากรมนุษย์ บางที่ใช้คำว่าพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาระยะยาว) ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ หรือยุคสมัยมากกว่า คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น (การศึกษาระยะสั้น) เช่น เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจการต่าง ๆ ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสอง อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก 
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์  ปยุตโต  2540 : 1)  กล่าวว่า  ชีวิตจะดีงามมีความสุข ประเทศชาติจะรุ่งเรืองมั่นคง และสังคมจะร่มเย็นเกษมศานต์ ด้วยปัจจัยสำคัญที่สุดคือ การพัฒนาคน ซึ่งจะทำให้คนเป็นคนดีมีความสุข และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาคนก็คือ การศึกษา  คนที่มีการศึกษา ตลอดจนจบการศึกษาแล้วเรียกว่า บัณฑิต เมื่อว่าโดยเนื้อหาสาระ บัณฑิต ก็คือ คนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท พัฒนาชีวิตของตนจนลุถึงประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของชีวิต
การพัฒนา (Development) เป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ มุมมองใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างสรรค์งานได้ผลดียิ่งขึ้น มีบริการที่รวดเร็วกว่า  มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น   เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารายบุคคลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบันหรืออนาคต  บุคลากรในองค์กรทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้อยู่ในแนวหน้า ปัจจุบันเราเรียกองค์กรนี้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เป็นระบบ ทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพและต่อเนื่อง มีการปรับบทบาทหน้าที่ การคงอยู่ขององค์กร 

กล่าวโดยสรุปการศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งการจัดระบบประสบการณ์การเรียนรู้ การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ และการเจริญเติบโตของงาน                  การ พัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก และการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้งสามฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาอาจสรุปหลักการด้านหลักสูตร ปรากฏตามมาตราต่าง ๆ ดังนี้
มาตรา 8 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา 28 หลักสูตรสถานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับบุคคลพิการ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง และด้านการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาทางสังคม

พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา

พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
              1. ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism) การจัดการศึกษาตามแนวคิดมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมเพราะเห็นว่า สิ่งที่นำมาสอนนั้น ดีงาม ถูกต้อง และกลั่นกรองมาดีแล้ว เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี 
2. ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี 
3. ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (existentialism) ให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง
4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม(reconstructionism)  เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก
5. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) การจัดการศึกษาตามแนวนี้จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน เน้นการปฏิบัติจริง และความสัมพันธ์กับสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง 
          ดังนั้นพื้นฐานทางด้านปรัชญามีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรมาก ดังนั้นการจะพัฒนาหลักสูตรไปในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาที่ยึดถือ เพราะแนวคิดทางปรัชญาเป็นเครื่องช่วยกำหนดจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง  และแนวปฏิบัติของหลักสูตรให้ชัดเจนขึ้น 

พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (behaviorist theory) มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรมของมุนษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อม นั่นคือ ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist theory) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข 
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivationtheory) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน (self) ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่ บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนด้วยตนเอง (self determinism) ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง 
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักสร้างองค์ความรู้ใหม่
ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ หรืออาศัยนักจิตวิทยาให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำหลักสูตร ในประเด็น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร คาบเรียน เกณฑ์อายุมาตรฐานการเข้าเรียน การจัดเนื้อหาและประสบการณ์
พื้นฐานทางด้านสาขาวิชา
          เปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับมโนมติ ข้อมูลต่าง ๆ แบบอย่างวิธีการและกระบวนการค้นคว้าอื่น ๆ ที่อาจจะใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการเรียนการสอน (มิเชลลิส กรอสแมน และสก๊อต (Michealis, Grossman and Scott. 1975 : 175))
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องทำหน้าที่พัฒนาคนในสังคมให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการจัดการศึกษาที่เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และเกิดทัศนคติใหม่ ๆ อันสอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอน แบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เนต (internet) ในการจัด การเรียนรู้ เป็นต้น
          ดังนั้นพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน ลักษณะคือ เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม และการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่นำเสนอในที่นี้มีทั้งหมด 6  แบบ ได้แก่
1)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
2)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
3)  แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
4)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
5)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
6) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model                                                                                            
                                                                                                                                                                                                 
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
         แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร (ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แสดงดังภาพประกอบที่1
          ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
          1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
          2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
          3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
          4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ

         ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
          1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
          2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
          3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ

          เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
          1. พัฒนาทักษะการคิด
          2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
          3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
          4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
          ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
          แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา


แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
           เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
        1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
        จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม และอื่นๆ
         2. การออกแบบหลักสูตร
         นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
          3. การนำหลักสูตรไปใช้
          ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
          4. การประเมินหลักสูตร
          นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย การประเมินมีจุดเน้น 2 ประเภท คือ
          1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
          2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
        แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
        และจากภาพประกอบ 5 โอลิวา (Oliva.P.E 1992) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน 12 ตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
ขั้นที่ 3 และ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ 6 และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
ขั้นที่ 12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
       วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6





ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้       
          1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่ง หมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
          2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
          4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
          5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
               5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
               5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
               5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
               5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข


แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model         จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้



     SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
     เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
       สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
      การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
      1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
      2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
      3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
       สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

        การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
      1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
      2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
      3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร

       สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
        การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
       1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
       2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
       3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
        สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม

       การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
      1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
      2. นำความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
      3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy







คุณสมบัติและประเภทของหลักสูตร

คุณสมบัติหลักสูตรที่ดี
          หลักสูตรเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของหลักสูตรที่ดีจะต้องนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา หลักสูตรที่ดีมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษา
2. ตรงตามลักษณะของพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน
3. ตรงตามลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์ของชาติ
4. เนื้อหาสาระเรื่องที่สอนเพียงพอที่จะช่วยให้นักเรียนคิดเป็นและมีพัฒนาการในด้านต่างๆ
5. สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน คือ ต้องจัดวิชาทักษะ และวิชาเนื้อหาให้เหมาะสม
6. หลักสูตรที่ดีต้องสำเร็จจากการร่วมมือของทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ผลดีควรจัดให้เป็นคณะกรรมการ
7. หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ต่อไป และจะต้องเรียงลำดับความยากง่ายไม่ให้ขาดตอนออกจากกัน
8. หลักสูตรที่ดีต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหา
9. หลักสูตรที่ดีต้องจัดประสบการณ์ที่ดีและกิจกรรมหลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกอย่างเหมาะสมตามความสนใจ ความต้องการ และความสามารถของแต่ละคน
10. หลักสูตรที่ดีต้องวางกฎเกณฑ์ได้อย่างเหมาะสม นำไปปฏิบัติ และวัดประเมินผลได้อย่างสะดวก
ประเภทของหลักสูตร
1. หลักสูตรบูรณาการ
          เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆมาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
ลักษณะหลักสูตรบูรณาการที่ดี
           1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้ อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
           2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
           3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้   ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
           4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
           5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น 
รูปแบบการบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2.บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3.บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฏชัดในการเรียนรู้ได้
2.หลักสูตรกว้าง
          มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรกว้าง
           1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
           2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ   ที่นำมารวมกันไว้
           3.โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า 
ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรกว้าง
ข้อดี
           -  เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กัน         ดีมากยิ่งขึ้น
           - ในการสอน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
           - เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ข้อเสีย
            - ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
             - การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน
3. หลักสูตรประสบการณ์
เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
ปัญหาสำคัญของหลักสูตรประสบการณ์
1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร หลักสูตรนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา กับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่ ควรทำอะไรกัน
4.หลักสูตรรายวิชา
             เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา


ลักษณะสำคัญของหลักสูตรรายวิชา
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3. จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ เป็นสำคัญ
4. โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา 
ข้อดีข้อเสียของหลักสูตรรายวิชา
ข้อดี
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
-  เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
-  การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
-   การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย 
ข้อเสีย
-หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
-หลักสุตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลัก เหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
-หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้ 

5. หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
สรุปใจความสำคัญของหลักสูตรแกน
            หลักสูตรแกน เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตรแกน จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้ ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
6. หลักสูตรแฝง
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้หลักสูตรแฝงกับการเรียนรู้พฤติกรรมจิตพิสัย
โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้ ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่ และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด  และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้ ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
7. หลักสูตรสัมพันธ์รายวิชา
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้ เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ
วิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์ เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง 
8. หลักสูตร
เป็นการจัดเนื้อหา หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
ที่มาแนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่าน
          บรูเนอร์ (Bruner)  มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็กเกลียวสว่าน


เจโรม บรูเนอร์
แนวคิดหลักสูตรเกลียวสว่านของดิวอี้
ดิวอี้ (Dewey) มีความเชื่อว่า การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้ เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน
จอร์น ดิวอี้
9.หลักสูตรสูญ
เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก โดยไอส์เนอร์  เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2ประเด็น คือ
1. กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
             2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร

การนำแนวคิดหลักสูตรสูญไปปรับใช้
เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา 
สรุปเนื้อหาสาระประเภทหลักสูตร
ความคิดเกี่ยวกับ “ประเภทของหลักสูตร” ที่กล่าวมานี้ จะมีประโยชน์ต่อการประเมินผล และการวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตรได้หันมาพิจารณาหลักสูตรให้ครบอีกครั้งว่า จุดหมายและเนื้อหาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้วนั้นเหมาะสมแล้วหรือยัง มีเนื้อหาในกระบวนการคิด และความรู้สึกประเภทใดที่เป็นประโยชน์ และสำคัญควรที่ผู้เรียนรู้ แต่ไม่มีในหลักสูตรก็จะได้ประชุมหารือกันระหว่าง นักพัฒนาหลักสูตร และผู้รับผิดชอบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป