บทที่ 2
ทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม
การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาการศึกษา
มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ
และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจักการศึกษา
ซึ่งจะสะท้อนคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละสังคมด้วยทฤษฎีหลักสูตร
1.ทฤษฎีหลักสูตร
ทฤษฎีต่างๆ
เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์
และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต
มิใช่อาศัยเหตุและผลแล้วนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีทำหน้าที่
อธิบายและให้ความหมายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน
นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์
และนำไปสู่การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
Smith and others (1975) มีความเชื่อว่าทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยสร้างและให้เหตุผลที่สนับสนุนทางการศึกษา
เพื่อประกอบการเลือกและจัดหาเนื้อหาที่ต่างกันของผู้เรียน
นักพัฒนาหลักสูตรจึงได้นำทฤษฎีหลักสูตรมาใช้โดยการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน
กำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณาความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรรวมถึงการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ
และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์
พิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมนำบรรจุไว้ในหลักสูตร
คำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม (Kelly,1999)
Beauchamp (1981) ได้สรุปว่า
ทฤษฎีเป็นข้อความที่ช่วยขยายเขตความรู้ของมนุษย์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
เป็นเครื่องมือของมนุษย์ซึ่งใช้ในการทำนายและคาดการณ์สิ่งต่างๆ
ที่ยังไม่เกิดข้นทำให้มนุษย์สามารถควบคุมปรากฏการณ์
หรือป้องกันแกไขเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติในที่สุดทฤษฎีหลักสูตร
จึงเป็นการผสมผสานข้อความเพื่อให้ความหมายซึ่งนำไปปฏิบัติในโรงเรียน
โดยการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบและการชี้แนะให้เห็นวิธีการพัฒนา
Beauchamp |
ทฤษฎีหลักสูตรเป็นคำอธิบายสิ่งต่างๆ
เกี่ยวกับการใช้หลักสูตร การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การประเมินหลักสูตร
และการนำผลที่ได้รับจาการประเมินผลปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร (Kelly,2009)
โดยเน้นการบรรยายถึงสิ่งต่างๆ
ที่แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันเเละกันระหว่างจุดมุ่งหมานของเนื้อหาวิชา
ระหว่างเนื้อหาวิชาและโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด ปรัชญาต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการวางจุดมุ่งหมาย สภาพความจริงในสังคม และบทบาทของการศึกษาในสังคม
(Gardner and others, 2000) โดยสภาพความจริงแล้วทฤษฎีกับการปฏิบัติมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชินทฤษฎีจะอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆ
ซึ่งการปฏิบัติจะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตของทฤษฎีที่กล่าวไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือทฤษฎีจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางของการปฏิบัตินั้นเอง
โดยเหตุนี้ทฤษฎีจึงเป็นของคู่กันและจะต้องไปด้วยกันในการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย
2. การสร้างทฤษฎีหลักสูตร
Beauchamp (1981:77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือทฤษฎีการ ออกเเบบ หลักสูตร
(Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (curriculum
engineering)
2.1 ทฤษฎีการออกเเบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร(Design
theories) หมายถึง
การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื่อหา สาระ
กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล (Zais. 1976:16) Herrick and Tyler
(1950:41)
การออกแบบหลักสูตร(Design theories) |
Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดไม่ได้ก็คือ
จุดมุ่งหมายทั่งไป จุดมุ่งหมายเฉพาะ เนื้อหาสาระ ประสบการณ์การเรียนรู้
และการประเมินผล
Beauchamp (1975:107-109) ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร
4 ประการ คือ เนื้อหาสาระ วิธีการจัดการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายทั่วไป จุดมุ่งหมายเฉพาะ แนวมางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน
และการประเมินผล ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
Zais (1976:431-437) ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร
2 แบบคือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น ( Unencapsulation
design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Hummanistic design) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ
4 ทางได้แก่ ความมีเหตุผล (Rationalism) จะนำไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต (Empiricism) รับรู้จากการมอง
การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัสได้ ฯลฯ สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ
และความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อในทางศาสนา
ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้ เป็นต้อน ส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหา
สาระมากกว่ากระบวนการ การจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหารสาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
Zais |
2.2 ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (curriculum
engineering) หมายถึง
กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียน ได้แก่
การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตรและการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร
(Beauchamp, 1975 : 108) หลักสูตรที่มีคุณภาพซึ่งจะสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ
ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต
รูปแบบหารวิจัยเชิงปฏิบัติการ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรที่มีหลักเกณฑ์ หลักการ
และระบบมากยิ่งขึ้น เช่นการสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร
และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากรเกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
3. การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและการกำหนดเป้าหมายว่าหลักสูตรที่จัดทำนั้นมีเป้าหมายอะไร
เพื่อไร ทั้งในส่วนรวมและส่วนย่อยของหลักสูตรนั้นๆอย่างชัดเจนการคัดเลือกกิจกรรม
วัสดุประกอบการเรียนการสอน การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
กิจกรรมทั้งในทั้งนอกห้องเรียนการกำหนดระบบการจัดวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมแต่ละวิชาและเเต่ละชั้นเรียน
การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนของการตัดสินใจหาทางเลือกการเรียนการสอนที่เหมาะสม
หรือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นระบบที่สามารถปฏิบัติได้นักพัฒนาหลักสูตรต้องเข้าใจถึงภูมิหลังขององค์ประกอบต่างๆ
อย่างละเอียดและรอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง และเมื่อตัดสิ้นใจเลือกแล้วต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออื่นๆ
การพัฒนาหลักสูตรมีข้อควรคำนึงหลายประการที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องหาคำตอบ
เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจจัดทำหลักสูตร Tyler (1949) ได้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายการศึกษาขิงโรงเรียนคืออะไร?
2. การที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายการศึกษาของโรงเรียนนั้น
ต้องใช้ประสบการณ์ศึกษาอะไร?
3. ประสบการณ์การศึกษาดังกล่าวจะจัดอย่างไร?
4. คุณภาพของหลักสูตรได้มาอย่างไร
สำราญ คงชะวัน (2456
: 13-14) ไดสรุปการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ
ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน การเลือกจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชา
กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดจ่อผู้เรียน
(Marsh Willis, 1995 : 129)
การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลา
ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสมโดยอาจปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรนั้นมาก่อนก็ได้
ซึ่งผู้พัฒนาสามารถดำเนินการได้ทุกระยะเวลาและต้องดำเนินการให้เป็นไปตามความเหมาะสม
ตามกระบวนการวางแผนและพัฒนาประสบการณ์ในการเรียนรู้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน
บุญชม ศรีสะอาด |
1. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical
foundation) อิทธิพลของพื้นฐานดังกล่าวมี 2
ลักษณะ
1.1 หลักสูตรที่พัฒนา มีความรู้ ผลการค้นพบ
และเเนวปฏิบัติที่เคยมีมาในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
1.2
ความสำเร็จและความล้มเหลวของการจัดการศึกษาในอดีตเป็นบทเรียนในการสร้างหลักสูตรใหม่
2. พื้นฐานทางปรัชญา (Philosophical
foundation) ปรัชญามีส่วนในการสร้างหลักสูตรเนื่องจากปรัชญามีส่วนช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์และการจัดการสอน
ซึ่งมีเเนวปรัชญาต่างๆ มากมาย
2.1 ปรัชญาสารัตถะนิยม (Essentialism) เชื่อว่าแต่ละวัฒนธรรมมีความรู้
ความเชื่อทักษะ อุดมการณ์ที่เป็นแกนกลาง หลักสูตรที่จัดตามแนวนี้ได้แก่
หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชา (Subject curriculum) และแบบสหสัมพันธ์
(Broadfields curriculum)
2.2 ปรัชญาสัจนิยม (Perenialism) เชื่อว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือความสามรถในการใช้ความคิด
ความสามารถในการใช้เหตุผล การตักสินใจแยกแยะ และความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า
การจัดหลักสูตรจะเน้นความสำคัญของวิชาพื้นฐาน ได้แก่ การอ่าน เขียน และการคิดคำนวณ
2.3 ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้โยอาศัยประสบการณ์
ผู้สอนแบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or activitycurriculum)
2.4 ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) เน้นเรื่องวิชาเเละสังคม
ได้แก่ หลักสูตรที่ยึดหลักสังคมและการดำรงชีวิต (Social process and life
function curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core curriculum)
2.5 ปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) เชื่อว่าแต่ละคนกำหนดชีวิตของตนเองได้
ได้แก่ หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (individualized) เน้นการให้เสรีแก่ผู้เรียนมากที่สุด
3. พื้นฐานจากสังคม (Sociogical
foundation) หลักสูตรได้รับอิทธิพลจากสังคมมากที่สุดสมาชิกในสังคมเป็นผู้สร้างและพัฒนาโรงเรียน
รากฐานสังคมที่มีต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็มีผลทำให้หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลงด้วย
4. พื้นฐานทางจิตวิทยา (Psychologial
foundation) จิตวิทยามีส่วนสำคัญต่อการสร้างหลักสูตรและการสอน
โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้
4.1 จิตวิทยาพพัฒนาการ
การที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลมีพัฒนาการที่เหมาะสมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนหลักสูตร
ได้แก่ พื้นฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิภาวะทางกาย พัฒนาการ
และสัมฤทธิ์ผลทางสติปัญญา พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งผลวิจัยของนักทฤฎีพัฒนาการ Hevighurst development theory กล่าวว่า พัฒนาการแต่ละวัยนั้น ถ้าหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาในงานงานใด
ก็จะทำให้มีความสุขและส่งผลต่อความสำเร็จในงานต่างๆ มาก ทฤษฎีพัฒนาการ Erison's
psychosocialtheory ที่เชื่อว่าพัฒนาการแต่ละชั้นถ้าได้รับการส่งเสริมตามต้องการจะเกิดความพึงพอใจและมั่นใจ
สามารถพัฒนาขั้นตอนต่อไปได้อย่างสมบูรณ์เป็นผลให้บุคลิกภาพดี
แต่ถ้าขั้นใดไม่ได้รับการส่งเสริมจะเกิดความคับข้องใจเกิดความไม่พอใจและเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพ
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา Cognitive development theory ที่เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด
จนกระทั่งถึงวัยที่มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
4.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาหลักสุตรและกิจกรรมการสอน
ทฤษฎีที่สำคัญ ได้แก่
4.2.1 ทฤษฎีที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
(S-Rcondition) ได้แก่ ทฤษฎีเสริมเเรงและทฤษฎีเงื่อนไข
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ ได้แก่ Pavlov Thorndike และ Skinner
4.2.2 ทฤษฎีสนาม (Field theory) แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ
ส่วนรวมทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญมากจะต้องาก่อนส่วนย่อย ทฤษฎีที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ
ทฤษฎีพุทธินิยมและทฤษฎีมนุษยนิยม
4.2.3 ทฤษฎีผสมผสาน (Integrated theory) มีเเนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ การผสมผสานระหว่างทฤษฎีเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและทฤษฎีสนาม
4.2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนของ Bloom เป็นทฤษฎีที่เน้นพื้นฐานเดิมของผู้เรียน และลักษณะของเเต่ละคน
5. พื้นฐานจากวิชาการความรู้ต่างๆ (Disciplines
of knowledge foundations) ความรู้ของวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ
รวมทั้งความรูทางอาชีพ เป็นรากฐานของการเรียนรู้ของผู้เรียน
การสร้างหลักสูตรจึงต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมโนทัศน์
และวิธีการของวิชานั้นๆ
นักวิชาการด้านหลักสูตรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดพัฒนาหลักสูตรไว้หลายรูปแบบแตกต่างกัน
ซึ่งรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรแต่ละรูปแบบ
ไม่ว่่าเป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือการนำหลักสูตรเก่ามาพัฒนา
ประกอบด้วยขั้นตอนที่คล้ายคลึงงกันพอสรุปเป็นขั้นตอน ดังนี้
การออกแบบและการสร้างหลักสูตร การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดทำรายละเอียดเนื้อหาสาระการเรียนรู้
การกำหนดเเนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้กำหนดเวลา
การนำหลักสูตรไปใช้ในการประเมินหลักสูตร
Taba (1962 :345-425) ได้นำเสนอรูปแบบการวางแผนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนตามความเชื่อเกี่ยวกับผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันโดยกำหนดกระบวนการวางแผนพัฒนาหลักสูตรไว้
7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียน
ต้องเริ่มจางการค้นหาความต้องการของผู้เรียนโดยวิเคราะห์ช่องว่าง
จุดบกพร่องก่อนและหลังของผู้เรียน
2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย
หลังการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนแล้ว ผู้วางแผนพัฒนาหลักสูตร
ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยใช้คำว่าจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
3.การเลือกเนื้อหา
เนื้อหาที่กำหนดในแต่ละหัวข้อจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ต้องกำหนดไว้
4.การเรียงลำดับเนื้อหา การเลือกเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ
จะต้องตัดสินใจว่าจะจัดลำดับเนื้อหาอย่างไร จึงจะเหมาะสมกันวุฒิภาวะ ความพร้อม
และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
5.การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ผู้วางแผนหลักสูตรจะต้องเลือกหรือกำหนดวิธีการที่จะให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้
6.การเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
ผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องหาวิธีการที่จัดและเรียงลำดับให้กิจกรรมการเรียนรู้ผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
7. การกำหนดรูปแบบการประเมินผลและเเนวทางในการปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายซึ่งผู้พัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงการบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
รูปแบบการประเมินที่ดี คือ
การที่ครูผู้สิชอนใช้เทคนิควิธีการหลายวิธีเหมาะกับผู้เรียน
Stenhouse (1975 : 4-5) ได้เสนอหลักการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรไว้
4 ประการ ดังนี้
1.การเลือกเนื้อหา
เป็นการคัดเลือกเนื้อหาสาระที่จะใช้ในการเรียนรู้ในหลักสูตร
2. การกำหนดยุทธวิธีการสอน เป็นการกำหนดว่าจะทำวิธีการสอนด้วยวิธีใดและมีกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการใด
3.การเรียงลำดับเนื้อหา
เป็นการนำเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูร
มาเรียงลำดับก่อนหลังอย่างเหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
4.การพิจารณาจุดอ่อนจุดเเข็งของผู้เรียนรายบุคคลและหลักการที่กำหนดมาเเล้ว
4.การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน
อ่านหลักสูตรได้เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่างๆ
1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นแก่ทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน
เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้ หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเเล้วตอนปลายจึงเน้นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา
2. หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการปรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
หลักสูตรระดับท้องถิ่น
เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของเเต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
3.หลักสูตรระดับห้องเรียน สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้
ผู้สอนนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กำหนดไว้
ผู้สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆ รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่องวิชานั้นๆ
ว่ามีความหมายความจำเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทำไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน
สื่อการสอน หนังสื่อ แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล
เพื่อพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
ระดับประถมศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
ชุมชนและสังคม โดยเชื่อว่าหารพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
สามารถอ่านออก เขียนได้คำนวณได้
ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต
ทังนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข
สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านตลอดจนอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักรักและแสวงหาความรู้
กำหนดแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมมีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ
เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมในฐานความรู้
และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการต่างๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน
บุคคลรอบข้างและสิ่งเเวดล้อม ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดี ในชุมชน
สิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าในคุณค่าของตนเอง
วัฒนาธรรมท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนเกิดความรู้สึกรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การพัฒนาหลักสูตรในกระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำประโยชน์ในสังคมตามความสามารถของตน
ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นตามแนวทางประชาธิปไตย
สรุป
การพัฒนาหลักสูตรเป็นการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนเเปลงหลักสูตร
ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องคำนึงถึงสังคม ปรัชญาการศึกษา และผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาหลักสูตรจะต้องประก่อนด้วยบุคคลหลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันนับแต่นักศึกษา
นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริหาร ครูผู้สอนนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน
และนักพัฒนาหลักสูตรที่จะให้การหลักสูตรดำเนินไปจนบรรลุผลสูงสุด
ทฤษฎีหลักสูตรที่ได้มาจากศาสตร์สาขาต่างๆ
ได้ถูกรวบรวมเป็นองค์รวมเป็นชุดของหลักการต่างๆ เพื่ออธิบายการได้มาขององค์ความรู้
การรักษาไว้เเละการเรียกใช้องค์ความรู้ในแต่ละบุคคลอย่างไร
ทฤษฎีหลักสูตรเปิดให้นักพัฒนาหลักสูตรกำหนดเบ้าหลอมผู้เรียนและกำหนดคำทำนายเกี่ยวกับผลการเรียนรู้
สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นเเนวทางช่วยให้สามารถพัฒนาหลักสูตรการนำหลักวิชา
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เทคนิค และวิธีการต่างๆ
วิธีการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และทำให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์ในรายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น