วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

NPU Model



NPU Model  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช




NPU Model นางสาวสุภาพร  แพงกันญา



N = Planning
P = Generating
U = Producing

เดิม N = วางแผน เขียนเป็นปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/จุดหมายของหลักสูตร/ส่วนนี้คือ creativity ที่เป็น planning

P = ออกแบบและจัดหลักสูตร (design & organize) เขียนเป็นสาระในหลักสูตร วิชาบังคับ วิชาเลือก/ความรู้ ทักษะ สมรรถนะ เมื่อจบหลักสูตร/Creativity = generating การทำให้หลักสูตรปรากฏ มีขึ้น/กรณีนี้อาจเขียนเป็น Course Syllabus

U = การประเมินผลหลักสูตร (evaluaton) เขียนเป็นระดับคุณภาพตาม SOLO Taxonomy/ได้ ๑ คะแนนมีความรู้ในเนื้อหา ขั้นเลียนแบบ/ได้ ๒ คะแนนมี ๑+ มีทักษะจากการใช้ความรู้ฝึกฝน ขั้นประยุกต์/ได้ ๓ คะแนน ต้องมี ๑ และ ๒ ขั้นสร้างสรรค์



N = Planning
การวางแผน คือ กระบวนการของการพิจารราตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไหร่ ทำที่ไหน ทำไมต้องทำ ทำเพื่อใคร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และมีการเลือกวัตถุประสงค์  นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร

จุดหมายของหลักสูตร หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตรจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความสำคัญเพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตในการศึกษาแก่เด็กช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรม  ตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการประเมินผล
จุดมุ่งหมายของการศึกษามีหลายของระดับ  ได้แก่  จุดมุ่งหมายหลายระดับหลักสูตรซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่บอกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้เป้าหมายของหลักสูตรนั้นๆ  จุดมุ่งหมายของกลุ่มวิชา  วิชาแต่ละกลุ่มจะสร้างคุณลักษณะที่แตกต่างกันให้กับผู้เรียนดั้งนั้นแต่ละกลุ่มวิชาจึงมีจุดมุ่งหมายไว้ต่างกัน  จุดมุ่งหมายรายวิชาเป็นจุดหมายที่ละเอียดจำเพาะเจาะจงกว่าจุดมุ่งหมายกลุ่มวิชา   ผู้สอนกลุ่มรายวิชาจะกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนเนื้อหาแต่ละบทแต่ละตอนขึ้นในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม แม้ว่าจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจะมีระดับดังกล่าวแล้วจุดมุ่งหมายหลายระดับย่อมสอดคล้องกันและนำไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน

Need Analysis = การประเมินความต้องการจำเป็น
การประเมินความต้องการจำเป็น (need assessment) หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิด ข้อมูลสารสนเทศเพื่อกำหนดความแตกต่างของสภาพที่เกิดขึ้นจริงกับสภาพที่ควรจะเป็น โดยระบุสิ่งที่ ต้องการให้เกิดว่ามีลักษณะใดและสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไร เพื่อน าไปสู่การประมวลสังเคราะห์และ ประเมินว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงควรเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง การประเมินความต้องการจำเป็นนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงในทางบวกและสร้างสรรค์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 370)
สำหรับการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับใช้ในการออกแบบ การเรียนการสอนนั้น สมิธและราเกน (Smith & Ragan, 1999, p. 32) กล่าวว่า การประเมินความต้องการ จำเป็น เป็นกิจกรรมเพื่อสำรวจปัญหาของการเรียนการสอนที่ผ่านมา ความต้องการของผู้เรียนและ
สภาพบริบทของการเรียนรู้ ส่วนดิค แครี และแครี (Dick, Carey, & Carey, 2001, p. 4) กล่าวว่า  การประเมินความต้องการจำเป็น เป็นกระบวนการเชิงระบบ สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ประกอบด้วยปัญหาและ ความต้องการของผู้เรียนคืออะไร เป้าหมายของการเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่ต้องการคืออะไร สภาพ และบริบทในการเรียนการสอนเป็นอย่างไร ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องพิจารณาถึงข้อมูลที่ ต้องการว่าควรมีขอบเขตกว้างขวางมากน้อยเพียงใด แหล่งของข้อมูลได้จากที่ใด กระบวนการรวบรวม ข้อมูลจะเลือกใช้วิธีการใดจึงจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและประหยัดทรัพยากร ถ้าสามารถกำหนดให้ชัดเจน ได้ก็จะช่วยให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการประเมินความต้องการจำเป็น จึงเป็น กิจกรรมที่ดำเนินการก่อนการออกแบบการเรียนการสอน
สรุปการประเมินความต้องการจำเป็นจึงเป็นกระบวนการเพื่อทราบปัญหาและการรวบรวม ข้อมูลสำหรับการวางแผนแก้ไขปัญหา โดยปกติครูที่ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับใช้สอนในห้องเรียน การประเมินความต้องการจำเป็นมักทำในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ โดยครูนำผลจากการประเมิน ทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ที่ทำในระหว่างการเรียนการสอน และการประเมิน ผลสรุป (summative evaluation) ซึ่งทำภายหลังการเรียนการสอนเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อตัดสินผลการเรียน ของผู้เรียนมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน แต่สำหรับนักออกแบบการเรียนการสอนที่มี ความประสงค์จะพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อฝึกการแยกตัวประกอบในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับ นักเรียนในระดับชั้น ป.4 ทั่วประเทศนั้น การประเมินความต้องการจำเป็นต้องทำอย่างเป็นระบบ ถึงแม้ว่า จะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้ได้สารสนเทศที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ตอบสนองเป้าหมายการเรียนรู้และความต้องการของ ผู้เรียนกลุ่มใหญ่ 
จุดมุ่งหมายของการประเมินความต้องการจำเป็น
การประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1) ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนไม่สามารถแก้ไข ได้ด้วยการเรียนการสอนทุกปัญหา ดังนั้นนักออกแบบการเรียนการสอนจะต้องพิจารณาว่าปัญหาใด ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเรียนการสอน เช่น ปัญหานักเรียนขาดความรู้หรือทักษะปฏิบัติในวิชาใด วิชาหนึ่ง ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเรียนการสอน โดยที่ครูจัดโครงสร้างความรู้ให้มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงตามลำดับจากง่ายไปยากและนำเสนอให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับรู้ของผู้เรียนให้นักเรียนมีโอกาสทบทวนความรู้ จัดเวลาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ พร้อมทั้งให้การเสริมแรงแก่   ผลการปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้นักเรียนนำข้อแนะนำไปปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น แต่บางปัญหา เช่นโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนสมัครเข้าเรียนใหม่ลดลงเรื่อย ๆ ปัญหานี้อาจไม่ได้เกี่ยวกับการเรียน    การสอนโดยตรง ดังนั้นจึงควรวิเคราะห์ว่าปัญหาใดเป็นปัญหาทางการเรียนการสอนที่สามารถแก้ไขได้ ด้วยการออกแบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ การค้นพบปัญหาการเรียนการสอนนี้จึงต้อง วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน
2) ค้นหาว่าอะไรคือความรู้ ทักษะที่ควรสอนให้แก่ผู้เรียน ความรู้ ทักษะนั้นเป็นสิ่งใหม่หรือ เคยเรียนมาแล้ว ธรรมชาติและลักษณะสำคัญของความรู้และทักษะนั้นเป็นอย่างไร จะสอนความรู้ ทักษะนั้นให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้ออกแบบจะต้องคิดถึงเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนได้รับและทักษะที่ผู้เรียน พึงได้รับการพัฒนา นั่นคือการตอบคำถามให้ได้ว่า จะให้ผู้เรียนรู้อะไรและทำอะไรได้จากการเรียนการสอน ที่จัดขึ้น
 3) ทำให้รู้จักผู้เรียนมากขึ้น เพื่อให้การออกแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น ความรู้เดิมของผู้เรียนที่มีอยู่ ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เรียนรู้เรื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น ความถนัด ความสนใจ ระดับพัฒนาการทางสติปัญญา แรงจูงใจ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียน ดังนั้นการรู้จักผู้เรียนช่วยให้นักออกแบบสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับ ผู้เรียนมากขึ้น
4) ทำให้เข้าใจบริบทของการเรียนการสอนซึ่งหมายถึงลักษณะทางกายภาพที่เป็นสิ่งแวดล้อม ของการเรียนการสอนและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเรียนการสอนทั้งในด้านที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรค ต่อการเรียนการสอน
5) ช่วยสำรวจปัญหาการเรียนการสอนและหาทางแก้ปัญหา นักออกแบบการเรียนการสอน จะใช้วิธีการเชิงระบบในการวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัญหาของการเรียนการสอน การเสนอทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหาและพิจารณาว่าแนวทางใดสามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด จะใช้สารสนเทศใด ในการแก้ปัญหาได้เหมาะสมที่สุด
6) ช่วยให้นักออกแบบการเรียนการสอนสามารถกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนเพื่อใช้ เป็นแนวทางในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและการวัดประเมินผลผู้เรียนได้สอดคล้องกับเนื้อหา ผู้เรียนและบริบทการเรียนการสอนมากขึ้น
การประเมินความต้องการจำเป็นจึงเป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้ออกแบบได้นำสารสนเทศไปใช้ ในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอนและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ ของผู้เรียน
รูปแบบการประเมินความต้องการจำเป็น 
การประเมินความต้องการจำเป็นในการเรียนการสอนเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ไม่บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนกำหนด สภาพการเรียน การสอนไม่มีประสิทธิภาพ ไม่น่าสนใจ คณะกรรมการโรงเรียนต้องการให้โรงเรียนเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่เข้า ไปในหลักสูตร เช่น ให้นักเรียนเรียนภาษาที่ใช้สื่อสารในประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น เช่น ภาษาจีน ภาษาบาฮาซา เป็นต้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของประชากรนักเรียนที่เป็นชาวต่างชาติมากขึ้นอันเนื่องจาก แรงงานต่างชาติที่เข้ามาท างานในประเทศไทย ทำให้เกิดปัญหาการจัดการเรียนการสอนในบริบทสังคม พหุวัฒนธรรม เป็นต้น ในการประเมินความต้องการจำเป็นจึงควรเลือกใช้รูปแบบการวิเคราะห์ที่มีความ เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่พบ ซึ่งแบ่งได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ (Smith & Ragan, 1999, p 32-36)
1. รูปแบบการประเมินที่เน้นการศึกษาช่องว่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่ คาดหวัง (discrepancy-based need assessment) เป็นการศึกษาความแตกต่างของสภาพที่คาดหวัง กับสภาพที่เป็นอยู่จริง การดำเนินงานวิเคราะห์ตามรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1) บรรยายเป้าหมายการเรียนรู้ของสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบัน
2) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายการเรียนรู้ในสภาพปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร
3) อธิบายช่องว่างระหว่างสิ่งที่เป็นสภาพที่คาดหวังและสิ่งที่ทำได้ว่ามีความแตกต่าง อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร
4) ลำดับสิ่งที่ต้องปฏิบัติก่อนหลังเพื่อให้เกิดสภาพที่ต้องการ
5) ประเมินว่าอะไรคือความต้องการของการเรียนการสอนและในจำนวนความต้องการ เหล่านั้น ความต้องการใดสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน
2. รูปแบบการประเมินที่เน้นปัญหา (problem-based need assessment) เป็นการ ประเมินเพื่อค้นหาว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง ปัญหานั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการเรียนการสอนหรือไม่ การ ดำเนินงานวิเคราะห์ตามรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1) ปัญหาที่พบเป็นปัญหาที่แท้จริงหรือไม่
2) สาเหตุของปัญหามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือสิ่งแวดล้อมการ เรียนรู้หรือไม่อย่างไร
3) แนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือไม่
4) พิจารณาว่าแนวทางในการเรียนการสอนที่เสนอนั้นสามารถแก้ปัญหาที่เป็น เป้าหมายการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่
 3. รูปแบบการประเมินที่เน้นนวัตกรรม (innovation-based need assessment) เป็นการ พิจารณานวัตกรรมและตัดสินว่าเป้าหมายการเรียนรู้นั้นมีความสัมพันธ์กับนวัตกรรมหรือไม่ การ ดำเนินงานวิเคราะห์ตามรูปแบบนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1) พิจารณาธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมว่ามีสภาพเป็นอย่างไร
2) พิจารณาว่าเป้าหมายการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับนวัตกรรมหรือไม่
3) พิจารณาว่าเป้าหมายการเรียนรู้อยู่ในระดับใดในระบบการเรียนการสอน
4) การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ว่านำไปสู่การออกแบบนวัตกรรมการเรียน   การสอนอย่างไร
กระบวนการประเมินความต้องการจำเป็น
กระบวนการประเมินความต้องการจำเป็น เป็นการดำเนินงานที่แปลงความต้องการที่เป็น เจตนารมณ์หรืออุดมคติให้เป็นความต้องการที่เป็นจริงโดยพิจารณาจากข้อมูล ข้อเท็จจริงที่รวบรวมจาก แหล่งข้อมูลและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย นำมาเปรียบเทียบและทบทวนเพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด ในการบรรลุความต้องการหรือการแก้ปัญหาที่ประสบ กระบวนการวิเคราะห์มี 3 ขั้นตอน (Shambaugh & Magliaro, 1997, p. 65) ได้แก่ การบรรยายความต้องการจำเป็น การรวบรวมข้อมูล การสรุปและ ทบทวนความต้องการจำเป็น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การบรรยายความต้องการจำเป็น เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบน าเสนอความต้องการ ที่เป็นอุดมคติ ความเชื่อ ความมุ่งมั่นในการเรียนการสอนว่าต้องการให้ผู้เรียนเป็นอย่างไรเมื่อได้รับ การจัดการเรียนการสอนแล้ว เช่น มีความรู้อะไร ทำอะไรได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างไร สิ่งที่ น าเสนอนี้มีแหล่งที่มาจากปรัชญา วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายของโรงเรียนที่ได้ประกาศแก่สาธารณชน และ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในหลักสูตรจะบอกถึงเป้าหมายที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนใน กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนที่คาดหวังเมื่อผู้เรียนได้รับการศึกษาครบระยะเวลา
ที่หลักสูตรกำหนด 12 ปี ที่เรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ และคุณภาพของผู้เรียนเป็นรายปีในแต่ละ ระดับชั้นที่เรียกว่า ตัวชี้วัด (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) สิ่งที่นำเสนอในขั้นนี้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ในระดับกว้างยังไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ แต่ทำให้เห็นลำดับความสำคัญของความต้องการหรือ เป้าหมายการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องการให้นักเรียนบรรลุ
2. การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบดำเนินการวิเคราะห์ทางเลือกหรือแนวทางต่าง ๆ ในการน าเป้าหมายการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลหลายด้าน การดำเนินงานในขั้นนี้คือ การวิเคราะห์งาน (task analysis) ซึ่งหมายถึง การจำแนกงานที่ต้องปฏิบัติเป็นกลุ่มงานต่าง ๆ รวมทั้ง การบรรยายรายละเอียดของภาระงานแต่ละงาน และจัดระบบงานให้สัมพันธ์กันจนสามารถดำเนินการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้จะต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน สาระ สื่อ และกิจกรรม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนเป็นลำดับขั้นตอนและบรรลุวัตถุประสงค์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 528) ดังนั้นงานในที่นี้ คืองานเพื่อการเรียนรู้ (learning task) ผลที่ได้ จากการดำเนินงานในขั้นนี้คือ เป้าหมายการเรียนรู้ที่บอกให้ทราบว่าผู้เรียนควรมีความรู้อะไร สามารถ ทำอะไรได้หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนแล้ว นอกจากนั้นยังบอกให้ทราบว่าผู้เรียนต้องมี ความรู้และทักษะพื้นฐานอะไรที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น  การดำเนินงานในขั้นนี้จึงประกอบด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน (analyzing the learners) เพื่อให้ทราบ ความแตกต่างของผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายการเรียนรู้ว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร มีพื้นฐานความรู้ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร และการวิเคราะห์งานเพื่อการเรียนรู้ (analyzing the learning task) คือ การวิเคราะห์ว่าความรู้หรือเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้นั้นคืออะไร มีลักษณะและธรรมชาติเป็น อย่างไร มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้เนื้อหานั้นอย่างไรซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบการเรียน การสอน
3. การสรุปและทบทวนความต้องการจำเป็น เป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบน าสารสนเทศที่ได้ จากการศึกษา ค้นคว้าและรวบรวมได้มาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการและปัญหาที่แท้จริง หรือปรับปรุงความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นตอนแรกให้มีความเหมาะสมเป็นจริงมากยิ่งขึ้น และใช้ใน การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่มีการจัดลำดับความสำคัญและกำหนดทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่มี ความเฉพาะเจาะจงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง โดยใช้สารสนเทศต่าง ๆ ที่ได้ศึกษา มาแล้ว ได้แก่ ลักษณะของผู้เรียน สภาพบริบทของการเรียนการสอนในโรงเรียน สารสนเทศเหล่านี้จะช่วยให้ข้อเสนอแนวทางการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้หรือการแก้ปัญหามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ในการปฏิบัติสอดคล้องกับเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ต่อไป 
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
         การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
            ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล                                   
ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร  หมายถึง การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
          2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
          3. ความต่อเนื่อง  หมายถึง การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
        4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง   การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย เป็นต้น
          5. การบูรณาการ    เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
         6. ความสมดุล   หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ

ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
         การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล. 2545 : 97 – 98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
          1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
          2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
          3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้ การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
          4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
          5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก

การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งอยู่ตรงส่วนของสามเหลี่ยมตรงกลางที่เป็นเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมช่องแรก โดยในทางปฎิบัตินั้นการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์คือ จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน จะมีบทบาทสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
Praxis หมายถึง การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
การประเมินหลักสูตร
ความหมายของการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรหมายถึง กระบวนการการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประเมินผลของหลักสูตรรวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต แนวคิดการประเมินหลักสูตรประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. การประเมินเป็นการประเมินค่าของเรื่องที่ตัดสินใจ

2. การตัดสินใจมีเกณฑ์ที่ชัดเจน

3. เกณฑ์การตัดสินใจมีประเด็นที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับเนื้อหา

4. เกณฑ์แสดงให้เห็นด้วยบุคคลและสอดคล้องกับแนวคิดของแบบจำลองเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ


 จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร
           ทาบา (Taba, 1962 : 310) ได้กล่าวไว้ว่า การประเมินหลักสูตรทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการต่างๆ ที่กำหนดไว้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาการประเมินดังกล่าวจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ จุดประสงค์ ขอบเขตของเนื้อหาสาระ คุณภาพของผู้ใช้บริหารและผู้ใช้หลักสูตร สมรรถภาพของผู้เรียน ความสัมพันธ์ของวิชาต่างๆ การใช้สื่อและวัสดุการสอน ฯลฯ
ขอบเขตในการประเมินหลักสูตร
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1981 : 265) ได้กล่าวถึงขอบเขตของการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.การประเมินจุดมุ่งหมายของโรงเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายเฉพาะวิชาและจุดมุ่งหมายในการสอน
                2.การประเมินผลโครงการการศึกษาของโรงเรียนทั้งหมด
                3.การประเมินผลการเลือกเนื้อหาและการจัดประสบการณ์เรียนและกิจกรรม
                4.การประเมินผลการสอบ
                5.การประเมินผลโครงการประเมินผล

หลักเกณฑ์การประเมินหลักสูตร
                1. มีจุดประสงค์ในการประเมินที่แน่นอน การประเมินผลหลักสูตรจะต้องกำหนดลงไปให้แน่นอนชัดเจนว่าประเมินอะไร
                2. มีการวัดที่เชื่อถือได้ โดยมีเครื่องมือและเกณฑ์การวัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ
                3. ข้อมูลเป็นจริงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการประเมินผล ดังนั้น ข้อมูลจะต้องได้มาอย่างถูกต้องเชื่อถือได้และมากพอที่จะใช้เป็นตัวประเมินค่าหลักสูตรได้
                4. มีขอบเขตที่แน่นอนชัดเจนว่าเราต้องการประเมินในเรื่องใดแค่ไหน
                5. ประเด็นของเรื่องที่จะประเมินอยู่ในช่วงเวลาของความสนใจ
                6. การรวบรวมข้อมูลมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ และกำหนดเครื่องมือในการประเมินผล จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
                7. การวิเคราะห์ผลการประเมินต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบ และให้มีความเที่ยงตรงในการพิจารณา
                8. การประเมินผลหลักสูตรควรใช้วิธีการหลายๆวิธี
                9. มีเอกภาพในการตัดสินผลการประเมิน
                10. ผลต่างๆที่ได้จากการประเมินควรนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรทั้งในด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดีและมีคุณค่าสูงสุดตามที่ต้องการ


ขั้นตอนในการประเมินหลักสูตร
1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมินการกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร จะทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้อง
 2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล การกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมินเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการประเมิน เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน การกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลทำให้เราสามารถดำเนินงานไปตามขั้นตอนได้อย่างราบรื่น
  3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่รวบรวมได้มีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ
5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะสรุปและรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น ผู้ประเมินจะต้องพิจารณารูปแบบของการรายงานผลว่าควรจะเป็นรูปแบบใด และการรายงานผลจะมุ่งเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรมีคุณภาพหรือไม่ เพียงใด มีส่วนใดบ้างที่ควรแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิก
7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป

ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
1. ทำให้ทราบหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้นมีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงได้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
2. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน
3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุนช่วยเหลือ หรือบริหารทางด้านใดบ้าง
4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ เพราะมีเครื่องมือ และหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
 8. ช่วยชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของหลักสูตร
 9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียน


ปัญหาในการประเมินหลักสูตร
1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ทำให้ขาดความละเอียดรอบคอบในการประเมินผล และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมิน
2. ปัญหาด้านเวลา การกำหนดเวลาไม่เหมาะสมการประเมินหลักสูตร ไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด ทำให้ได้ข้อมูลเนิ่นช้าไม่ทันต่อการนำมาปรับปรุงหลักสูตร
3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการประเมินหลักสูตร คณะกรรมการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผล ทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ ขาดความละเอียดรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงปัญหาของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น
 4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล ข้อมูลที่ไม่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมิน จึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงหรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี จึงให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
5.ปัญหาด้านวิธีการประเมิน การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากการประเมินในเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผินไม่ลึกซึ้ง จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กัน เพื่อให้ได้ผลสมบูรณ์และมองเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
 6.ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินงานน้อยมาก ส่วนมากมักจะประเมินผลเฉพาะด้าน เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในด้านวิชาการ (Academic Achievement) เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
  7.ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
  8.ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรอย่างจริงจัง


สรุป (Summary)
การประเมินหลักสูตรอาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่ชี้ให้เราได้ทราบว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาเป็นรูปเล่มและนำไปใช้แล้วนั้น ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีข้อดี ข้อบกพร่องอะไรบ้างที่ต้องแก้ไขปรับปรุง การประเมินเป็นการพิจารณาคุณค่าของหลักสูตรโดยอาศัยวิธีการต่างๆในการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง นำมาวิเคราะห์และสรุป ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรในโอกาสต่อไป
เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ผู้ประเมินต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงในจุดมุ่งหมาย สิ่งที่จะประเมิน และวิธีการประเมิน ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง เพราะจุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตรมีอยู่หลายประการ สิ่งที่ควรได้รับการประเมินก็ครอบคลุมหลายองค์ประกอบ รวมทั้งรูปแบบการประเมินก็มีอยู่หลายหลาก ผลจากการประเมินหลักสูตรนั้นย่อมมีคุณประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหารและผู้ใช้หลักสูตรตลอดจนประสิทธิภาพของการศึกษา หากการประเมินกระทำอย่างเป็นระบบมีเป้าหมายและมีวิธีการที่ชัดเจนเป็นที่น่าเชื่อถือ เมื่อนำไปปรับปรุงแล้วย่อมให้หลักประกันว่าหลักสูตรมีคุณภาพดี ดังนั้น กระบวนการจัดทำการประเมินหลักสูตรจึงเป็นกระบวนการและขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง วิธีการและขั้นตอนในการประเมินจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงทำให้ได้ผลประเมินที่ถูกต้องเที่ยงตรงเป็นจริง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรโดยแท้



ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21


ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวว่า   การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัยและตลอดชีวิตคือ 3R x 7C กล่าวคือ 3R ได้แก่
1. Reading (อ่านออก)
2. (W)Riting (เขียนได้)
3. (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
                และ 7C ได้แก่
1.Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
2. Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
3. Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
4. Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
5. Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
6. Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
7. Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น  Knowledge Worker  โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้อง เปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็นครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (Knowledge Worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (Learning Person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้  ดังนั้นทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (Learning Skills) ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้วเพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิต ของตนเองระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครู เพื่อศิษย์และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเองโดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น ผู้สอนผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ Facilitator ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน เน้นทั้งการเรียนของศิษย์และของครู
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีลักษณะอย่างไร  โดยที่การศึกษาในประเทศไทยนั้นได้ยึดหลักของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามความคิดของนักคอนสตรัคติวิสต์(Constructivist) ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ นักจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ Piaget นักจิตวิทยาชาวสวิส และ Vygotsky นักจิตวิทยาชาวรัสเซียPiaget เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความรู้ความคิด เกิดการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ส่วน Vygotsky อธิบายหลักการสำคัญว่าผู้เรียนจะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ใน ระดับหนึ่ง และจะสามารถก้าวไปยังระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่เมื่อ ได้รับการแนะนำช่วยเหลือจากผู้รู้ แนวความคิดของทั้ง Piaget และ Vygotsky มีส่วนที่คล้ายคลึงกันตรงการมีปฏิสัมพันธ์เพื่อนำสู่การเชื่อมโยงระหว่าง ประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ และการไปถึงระดับที่ผู้เรียนมีศักยภาพ
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ทำให้วงการการศึกษาในประเทศไทยจำเป็นต้องตอบสนองต่อความท้าทายที่ต้องเผชิญ อยู่นี้ เราต้องการรูปแบบการทำงานที่สามารถพัฒนากรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้แห่ง ศตวรรษที่ 21 เพื่อที่สามารถจัดการศึกษาตอบสนองต่อความต้องการที่กำลังเปลี่ยนแปลงของ สังคมซึ่งเยาวชนไทยกำลังเผชิญอยู่ จากบทแรกเราทราบนิยามของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในบทนี้เราจะมาตีความหมายและพยายามทำความเข้าใจว่าครูที่มีหน้าที่สอนนั้นจะ ออกแบบบทเรียนอย่างไรเพื่อให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายเกิดทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 เมื่อเราอ่านนิยามของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จะเห็นได้มุมมองของนักการศึกษาที่ต้องการให้นักเรียนในอนาคตมีคุณลักษณะดัง 4 ประการนี้
1. วิถีทางของการคิด ได้แก่ สร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การแก้ปัญหา การเรียนรู้และตัดสินใจ   (Ways of Thinking. Creativity, Critical Thinking, Problem-solving, decision- Making and Learning)
2. วิถีทางของการทำงาน ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร และการร่วมมือ (Ways of Working. Communication and Collaboration)
3. เครื่องมือสำหรับการทำงาน ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้ด้านข้อมูล (Tools for Working. Information and Communications Technology (ICT)  and Information Literacy)
4. ทักษะสำหรับดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ได้แก่ ความเป็นพลเมือง ชีวิตและอาชีพ และ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (Skills for Living in the World. Citizenship, Life and Career, and Personal and Social Responsibility)
จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยนักการศึกษาได้มีการนำเสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญของลักษณะการจัดการเรียนรู้ได้ดังนี้
1. มนุษย์มีรูปการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา
2. ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่และให้ผู้เรียนดำเนิน รอยตามผู้สอน
3.โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่าง เหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบให้อิสระ หรือแบบประชาธิปไตย
4. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน
5. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวดและ ระบบที่ยืดหยุ่นจะผลิตคนที่รู้จักคิดยืดหยุ่น
6. สังคม หรือชุมชนที่มั่งคง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสาร ทำให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่
7. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (Deep Learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรฝฦแบบผิวเผิน (Shallow Learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึก รู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบงูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์อย่างไร
การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ ครูนั้นต้องมีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สอน (Instructor)  ครูต้องมีลักษณะของผู้ที่สามารถชี้แนะการเรียนรู้ (Learning Coaching) และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Travel Agent) จากที่กล่าวมานั้นบทบาทของครูจากยุคสมัยก่อนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อก้าวสู่ยุคแห่งศตวรรษที่ 21 ครูในโลกยุคใหม่ต้องมีความรอบรู้มากกว่าการเป็นผู้ดูแลรายวิชาที่สอนเท่า นั้น แต่ครูมีบทบาทของการเพิ่มพูนความรู้แก่นักเรียน เสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
ในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีขั้นตอนและกระบวนการที่เป็นลำดับที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียน การสอน เช่น การกำหนดปัญหาที่สนใจและการทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสามารถบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้
ในศตวรรษที่ 21 ไอซีทีได้เข้ามาบทบาททางการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่ว โลก ไอซีทีในปัจจุบันจึงไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งข้อมูลข่าวสารเท่านั้น
ครูสามารถบูรณาการความก้าวหน้าทางไอซีทีกับการจัดการเรียนรู้ได้อย่างไร
การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี (Technology-based Learning) ครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบได้แก่ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (Computer-based Learning) การเรียนรู้บนเว็บ (Web-based Learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classrooms) ความร่วมมือดิจิตอล (Digital Collaboration) เป็นต้นผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท เช่น อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต (Intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (Satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ (Audio/Video Tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive TV) และซีดีรอม (CD- ROM)   การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับแต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งของเทคโนโลยี ทำให้ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษา   หาความรู้และเตรียมพร้อมตนเองเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เหล่านี้ในการเรียนการสอนวิธีการเตรียมตัวในการใช้เทคโนโลยีในการสอนคือ เทคนิครู้เขารู้เรา โดยสิ่งที่ครูต้องรู้มี 2 ประการคือ (1) การรู้และเข้าใจศักยภาพของทรัพยากรที่โรงเรียนมี เช่น ครูต้องรู้ว่าในโรงเรียนมีอะไรที่สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนโดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยปกติแล้วสิ่งที่โรงเรียนมีคือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องเรียนที่มีเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบโน๊ตบุ๊ค รวมไปถึงระบบขยายเสียง (2) ครูต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน รวมไปถึงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน สื่อภาพและเสียง วิดิทัศน์ ข่าวและประเด็นที่เป็นที่สนใจ เป็นต้น เทคโนโลยีที่ครูสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การเปลี่ยนแปลงแนวคิด มีจำนวนมาก และครูสามารถเลือกใช้ได้ตามความถนัดหรือความสนใจ
การพัฒนาเด็กในยุคศตวรรษที่ 21 (วิจารณ์ พานิช,2555)                                                                                  -  Disciplined mind
-  Synthesizing  mind
-  Creating  mind
-  Respectful  mind
-  Ethical  mind
-  Global  awareness
แนวทางการจัดการศึกษาในศตวรรษหน้า
               ครูต้องสามารถบูรณการความก้าวหน้าทาง ICT กับการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
Digital organization เพื่อลดจำนวนบุคลาการ
ทำอย่างไรให้องค์กร ใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุน ทรัพยากร
เพราะอะไรไม่เกิดทั้งองค์กร  management เพื่อลดต้นทุน ลดคน นำ IT เป็นตัวตั้ง
นโยบาย ส บ ช All in one วางระบบให้สามารถทำงานทุกที่

การประยุกต์เทคโนโลยีในฐานะของครูเพื่อจัดการเรียนการสอน
               อุปกรณ์จะช่วยงานดีขึ้นอย่างไร
เทคโนโลยี e-learning  ลดปัญหาได้อย่างไร
               เริ่มจากการเรียนการสอนมีปัญหา อย่างไร สอนอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ นักเรียนหลับ นักเรียนไม่สนใจ นักเรียนลืม  ตั้งสมมติฐาน แล้ว นำเทคโนโลยี e-learning  มาช่วยอย่างไร
ผู้เรียนรับไม่ได้ รับไม่ทัน หรือไม่อยากเรียน  พื้นฐานผู้เรียนไม่เพียงพอ ทำให้รับไม่ทัน คนเก่ง คนอ่อน มีความแตกต่างของการรับรู้ อาจารย์สอนในห้องที่มีจำนวนนักเรียนเยอะ สื่อของ e-learning  ผู้เรียนสามารถมาเรียนได้ตามพื้นฐาน ตามศักยภาพ ตามความเร็วของตนเอง อาจารย์ทำสื่อให้เรียนล่วงหน้า  ให้เรียนทบทวน เพื่อช่วยลดปัญหาช่อว่างของผู้เรียน เพื่อปรับพื้นฐานของผู้เรียนให้ใกล้เคียงกันก่อน

ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
              การใช้ PADLET  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมสามารถตั้งคำถามในห้องเรียน
การนำเทคโนโลยีมาใช้  ย้อนไปที่ปัญหาที่อาจารย์พบ แล้วอาจารย์อยากแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหา
การเตรียมสอนนักเรียน โดย มคอ TQF
ภาระงานที่มีเยอะ การประกันคุณภาพ มีเทคโนโลยีที่ช่วยมากขึ้น
เตรียมแผนการสอนอย่างไร : อาจารย์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อน  มองหาว่าเราจะเอาสิ่งใหม่ไปใช้กับนักเรียน เปลี่ยนนักเรียน สื่อต่างๆที่ใช้ต้องทันยุคทันสมัย  ทำไมลูกศิษย์ไม่เหมือนสมัยที่เราเรียน จะสนับสนุนอย่างไรให้นักเรียนมีวิธีแสดงความคิดเห็นได้

ทำอย่างไรให้นำไปใช้ได้ประสบความสำเร็จ
              กลับจากอบรม มีความมุ่งมั่น คุยกับฝ่าย IT และผู้บริหาร ให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่าจะใช้งานร่วมกันอย่างไร  อาจารย์ท่านไหนมีความมุ่งมั่นจะเปิดวิชาใน e-learning  ทำแบบค่อยๆเป็นๆไป ใช้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิชาไหนใช้เต็มรูปแบบ วิชาไหนใช้แค่เป็นสื่อประกอบ
การจัดสัมมนา การอัพเดตฟังก์ชั่นใหม่  วิธีการใช้งาน มีการเชื่อมการประสานงาน การมีเวทีแลกเปลี่ยนทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ภายใต้ทฤษฎีการกระจายนวัตกรรม Show & Share
เวลาอบรมให้ไปด้วยกันทั้งอาจารย์และ นัก IT

บทบาทของผู้บริหาร
การสื่อสารซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ  ให้มี Evidence เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ อ้างอิงได้ลดต้นทุน เพิ่มคุณค่า  บริหารด้วยข้อมูล  ความพร้อมของอาจารย์ในการนำไปใช้
นักเรียนใช้ IT เก่งแต่ไม่เข้าเรียนแบบมีส่วนร่วม e-learning
ทำอย่างไรให้น่าสนใจ อย่าสอนให้เหมือนการสอนแบบทั่วไป
-   เรียนยุคใหม่ต้องการการโต้ตอบ ต้องอยู่กับนักเรียนขณะออนไลน์  อาจารย์ active นักเรียน active มากขึ้น
-   เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน เป็นอย่างนักเรียน  สร้างข้อตกลง เวลาที่จะร่วมพูดคุย  อาจารย์ต้องเร็ว
-   การท้าทายผู้สอน  คำตอบมีหลายคำตอบ Think for share ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งรายวิชา แต่ต้องการเรียนการสอน
-  ทำให้นักเรียนเข้าใจว่า ชั่วโมงที่พบอาจารย์ คือ ช่วงเวลาที่มีค่า เพราะฉะนั้นก่อนที่มาพบอาจารย์นักเรียนต้องมีการเตรียมการ   ใช้แล้วนักเรียนมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  ให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนสูงสุด
Flipped classroom model
Learning Outcome
Outside-of-class: Videos, Postcard, Book, Website
In class: Collaborative
ครูจัดการบทเรียนไว้ล่วงหน้าที่บ้าน
ในห้องเรียน ตรวจสอบความเข้าใจใน concepts  ให้คำแนะนำตามความต้องการของนักเรียน
1.สร้างสื่อ ให้น้อยกว่า 10 นาที
2.ให้นักเรียนทำความเข้าใจเนื้อหา
3.สร้างแรงจูงใจ
4. ห้องเรียนอภิปราย หรือ สะท้อนคิด (0)
  
หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา


หลักสูตรโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยาที่ตอบสนองทักษะของคนในศตวรรษที่ 21
    ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยา   ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  ๒๕๕๑ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ  ดังนี้
            ๑.  ความสามารถในการสื่อสาร  เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด  ความรู้ความเข้าใจ  ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม    รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ  การเลือกรับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง  ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
            ๒.  ความสามารถในการคิด  เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์  การคิดสังเคราะห์  การคิดสร้างสรรค์     การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ   เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
            ๓.  ความสามารถในการแก้ปัญหา    เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล     คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ     เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆในสังคม  แสวงหาความรู้  ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม
            ๔.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง   การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม   และสภาพแวดล้อมและการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
๕.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี    เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆและมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้  การสื่อสาร  การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่าสร้างสรรค์ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น